ads 1081*250

ads 1081*250

บทความที่ได้รับความนิยม

คาราวานพิชิต 19 จังหวัดภาคกลาง ปีที่ 4 วันที่ 6 พฤษภาคม 2558 ( สระบุรี – พระนครศรีอยุธยา)



พิพิธภัณฑ์บ้านไร่กาแฟ บนพื้น
ที่กว่าสิบไร่ จัดแสดงของโบราณมีค่ามากมาย เกือบทุกชิ้นยังคงสภาพสมบูรณ์ ใช้งานได้ ซึ่งหาชมได้ยาก อยู่ที่ต.หนองแซง อ.เฉลิมพระเกียรติ์ จว.สระบุรี ในเขตรับผิดชอบของท่านผอ.อรรถพล วรรณกิจ ททท.สำนักงานลพบุรี

พิกัด 14 28.8518N  100 46.4003E






















   พุทธอุทยานมหาราชเกิดจากความตั้งใจของ คุณวัชพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ ประธานมูลนิธิพระเทวราชโพธิสัตว์ ซึ่งต้องการเห็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ ตามหลักการ "บวร" ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน และต้องการทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมถึงส่งเสริมคุณธรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนา รักษาสิ่งแวดล้อม พัฒนาท้องถิ่นด้วยวิธียั่งยืน อีกทั้งยังมีปณิธานแน่วแน่ที่จะดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม

พิกัด 14 31.9978N  100 30.1552E





 โครงการนี้ตั้งอยู่ที่หลักกิโลเมตรที่ 44 ทางหลวงหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ตำบลบ้านใหม่ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บนรอยต่อของอำเภอบางปะหันและอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อเนื่องกับอำเภอป่าโมกและอำเภอเมืองฯ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์เส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงได้ชื่อว่าพุทธอุทยานมหาราช เพื่อความเป็นสิริมงคล
   คุณวัชรพงศ์ได้ซื้อที่ดินจำนวน 200 ไร่ และได้สร้างรูปเหมือนสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดขนาดหน้าตักกว้าง 24 เมตร ความสูงรวมฐาน 51 เมตร สร้างจากปูนหุ้มสัมฤทธิ์เคลือบสีทอง ทั้งองค์ นับได้ว่าเป็นรูปเหมือนพระสงฆ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งตามประวัติศาสตร์ หลวงพ่อทวดเคยเดินทางมาพำนักที่กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลาหลายปี
  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ ประธานมูลนิธิพระเทวราชโพธิสัตว์ โทรศัพท์ 081-932-3366










วัดใหญ่ชัยมงคล

พิกัด 14 20.8213N  100 35.5823E


เดิมชื่อวัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าพระยาไท ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก
ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมาแต่สำนักพระวันรัตน์มหาเถรในประเทศลังกา คณะสงฆ์ที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยเรียกนามนิกายในภาษาไทยว่า “คณะป่าแก้ว” วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดป่าแก้ว” ต่อมาคนเลื่อมใสบวชเรียนพระสงฆ์นิกายนี้  จึงมีการตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัตน์มีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายขวาคู่กับพระพุทธโฆษาจารย์เป็นอธิบดีสงฆ์ฝ่ายคันถธุระมีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายซ้าย หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดเจ้าพระยาไท” สันนิษฐานว่ามาจากที่พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างวัดป่าแก้วขึ้น ณ บริเวณที่ซึ่งได้ถวายพระเพลิงพระศพของเจ้าแก้วเจ้าไทหรืออาจมาจากการที่วัดนี้เป็นที่ประทับของพระสังฆราชฝ่ายขวา ซึ่งในสมัยโบราณเรียกพระสงฆ์ว่า “เจ้าไท” ฉะนั้น เจ้าพระยา ไทจึงหมายถึงตำแหน่งพระสังฆราช
วัดใหญ่ชัยมงคล ยังมีความผูกพันกับประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วย กล่าวคือ ในปีพ.ศ. 2135 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี  ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ การสร้างพระเจดีย์อาจสร้างเสริมพระเจดีย์เดิมที่มีอยู่หรืออาจสร้างใหม่ทั้งองค์ก็ได้ ไม่มีหลักฐานแน่นอน ขนานนามว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ราษฎรเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” ฉะนั้นนานวันเข้าวัดนี้จึงเรียกชื่อเป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล” ทว่าเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 บ้านเมืองถูกกองทัพพม่าเผาทำลาย วัดใหญ่ชัยมงคลจึงถูกทิ้งร้างไปในที่สุด ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีการบูรณปฏิสังขรณ์และมีภิกษุสงฆ์จำพรรษาดังเช่นในปัจจุบัน










สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ เจดีย์ชัยมงคล อนุสรณ์แห่งชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเหนือมังกะยอชวา  พระมหาอุปราชของหงสาวดี และวิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นที่ถวายสักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน   ปัจจุบันมีการสร้างพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้นิยมไปนมัสการอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก
วัดใหญ่ชัยมงคล เปิดเวลา 08.00 – 17.00 น. ทุกวัน ค่าเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติ 20 บาท นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 03-524-2640
การเดินทางมายังวัดใหญ่ชัยมงคล จากกรุงเทพฯเข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ทางซ้ายมือ
















วัดพนัญเชิง
ตำบลคลองสวนพลู ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5 กิโลเมตร  หรือเมื่อออกจากวัดใหญ่ชัยมงคล ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามถนนประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นวัดพนัญเชิงอยู่ทางขวามือ วัดพนัญเชิงเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย เป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งซึ่งครองเมืองอโยธยาเป็นผู้สร้างขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก และพระราชทานนามวัดว่า “วัดพระเจ้าพระนางเชิง” (หรือวัดพระนางเชิง)



คืนนี้พักที่ แคนทารี




















ไม่มีความคิดเห็น:

PP Tour

ร้านอาหาร

[ร้านอาหาร][bsummary]

www.grandbookinggroup.com

โรงแรม

[โรงแรม][bsummary]

หอพักสตรีสุดารัตน์

อื่น

[อื่น][bleft]

วช

[วช][twocolumns]

หอพักสตรีสุดารัตน์

ภาคกลาง

[ภาคอีสาน][twocolumns]