ads 1081*250

ads 1081*250

บทความที่ได้รับความนิยม

คาราวานพิชิต 19 จังหวัดภาคกลาง ปีที่ 4 วันที่ 4 พฤษภาคม 2558 (กาญจนบุรี – สุพรรณบุรี – อ่างทอง - ชัยนาท)



วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม 2558  (กาญจนบุรี – สุพรรณบุรี – อ่างทอง - ชัยนาท)
เชิญชวนแต่งกายวิถีไทยใน Theme : เที่ยวเมืองเก่าเล่าประวัติศาสตร์


วัดทิพย์สุคลธาราม ชมนิทรรศการ อนุสรณ์แห่งการตื่นรู้ แหล่งการเรียนรู้พุทธประวัติ หลักคำสอน และการเดินทาง​​ของพระพุทธศาสนา แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ล่าสุดกำลังจะเปิดเร็วๆนี้  #วัดทิพย์สุคนธาราม อำเภอห้วยกระเจา จังหวัด​​กาญจนบุรี

พิกัด  14 19.2825N  99 42.3055E











ททท.สนง.สุพรรณบุรี ขอต้อนรับสู่พื้นที่ จังหวัดสุพรรณบุรี
สุพรรณบุรี เมืองอู่ข้าวอู่น้ำของไทยเมืองอันเป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีที่สำคัญของไทย คือขุนช้างขุนแผน เมืองที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน เมืองที่มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย ทั้งประวัติศาสตร์ โบราณคดี วิถีชีวิตชุมชน วิถีชนเผ่า ธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แต่ที่โดดเด่นและแตกต่างจากที่ใด











พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร (อุทยานมังกรสวรรค์) สร้างขึ้นจากความคิด นายบรรหาร ศิลปอาชา ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย โดยได้เริ่มออกแบบและจัดทำพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรขึ้น บริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของชาวจีนในประเทศไทย ตลอดจนประวัติศาสตร์และอารยธรรมจีน เพื่อเป็นอนุสรณ์การเจริญสัมพันธ์ทางการทูตไทย – จีน ครบ 20 ปีใน พ.ศ. 2539 ลำตัวมังกรภายนอกออกแบบอย่างถูกต้องตามลักษณะความเชื่อของคนจีนแต่โบราณ ภายใต้ตัวมังกรเป็นที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร” ซึ่งห้องจัดแสดงเรื่องราวด้วยเทคนิคนำเสนอทันสมัยจำนวน 20 ห้อง สนใจรายละเอียดคลิกๆ
http://www.tiewpakklang.com/best-places/159/








นายวิศรุต อินแหยม 
ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุพรรณบุรี 









วัดสังกระต่าย ตั้งอยู่ที่  ต.ศาลาแดง อ.เมือง จ.อ่างทอง 
สถานที่ท่องเที่ยว Unseen แห่งใหม่ในอ่างทอง ตัวโบสถ์เก่าแก่มีต้นโพธิ์ ขนาดใหญ่ขึ้นปกคลุมรอบโบสถ์ 4 ต้น รวมถึงปกคลุมภายในโบสถ์ด้วย  โดยภายในโบสถ์มีทั้งหมด 3 ห้อง ภายในห้องแรกมีพระบูชา คือ หลวงพ่อแก่น เมื่อเข้ามาในห้องใหญ่มีพระประธานองค์ใหญ่ 1 องค์ คือ หลวงพ่อวันดี และอีก 2 องค์มีขนาดย่อม ลงมา คือ หลวงพ่อศรี และหลวงพ่อสุข ส่วนห้องสุดท้ายเป็นห้อง ว่างเปล่า ตัวโบสถ์ไม่มีหลังคาแต่ร่มรื่น เนื่องจากอาศัยร่มเงาของต้นโพธิ์ที่ปกคลุมจนเปรียบ เสมือนหลังคาไปแล้ว ส่วนผนังโบสถ์ก็อยู่ในสภาพที่เก่าแก่ ทรุดโทรม แตกหัก แต่คงสภาพอยู่ได้โดยไม่พังทลายลงมา เพราะได้รากต้นโพธิ์ ทั้ง 4 ต้น ที่ขึ้นอยู่ 4 มุม รากได้ชอนไชยึดผนังโบสถ์ไว้ทั้งหลังอย่างแน่นหนา


พิกัด 14 36.1918N  100 26.3192E 


วัดสังกระต่าย ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองอ่างทองประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ไม่ไกลจากวัดขุนอินทประมูล โดยเดินทางมาจากถนนสายเอเชีย แยกเข้า จ.อ่างทอง ด้านขวามือจะผ่าน โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม ตรงไปข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (สะพานอ่างทอง) จะเจอสี่แยกไฟแดง ให้ตรงมาผ่านตลาด จากนั้นตรงไปเรื่อยๆ เจอสี่แยกไฟแดงแยกเรือนจำให้เลี้ยวขว ผ่านเรือนจำอ่างทอง ตรงไปด้าน ซ้ายมือเห็นปั๊มน้ำมัน ปทต.ให้ ยูเทิร์นกลับ จะพบป้ายวัดสังกระต่ายอยู่ซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยเทศบาลตำบลศาลาแดง ประมาณ 500 เมตรก็ถึงวัดสังกระต่าย


นายสมชาย ชมภูน้อย ผู้อำนวยการ ททท.ภูมิภาคภาคกลาง



ประวัติวัดสังกระต่าย


จากการบอกเล่าต่อกันมา วัดสังกระต่าย เดิมชื่อว่า "วัดสามกระต่าย" แต่ได้มีการเรียกชื่อผิดเพี้ยนกันมาเรื่อยๆจนกลายเป็นวัดสังกระต่าย มี "ทวดติ จันทนเสวี" ซึ่งเป็นพระมารดาของพระยาหัสกาลเป็นผู้สร้างตั้งแต่สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาประมาณ 400-500 ปีมาแล้ว สมัยนั้นมี พระภิกษุสงฆ์มาจำพรรษาอยู่นาน โดยมีสภาพเป็นวัดบริเวณด้านซ้ายเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งต่อมาได้ถมดินกลบไปแล้ว ส่วนบริเวณ ข้างโบสถ์มีกุฏิสร้างเรียงรายอยู่หลายหลัง ต่อมาพระภิกษุสงฆ์เกิดทะเลาะวิวาทกันขึ้นและทะเลาะกันเรื่อยมา ชาวบ้านเชื่อกันว่าสาเหตุน่า จะมาจากเรื่องของเจ้าที่ที่สิงสถิตในบริเวณวัดแรงมาก จึงทำให้พระสงฆ์ไม่สามัคคีกัน ต้องแยกย้ายกันไปคนละที่คนละทาง จนในที่สุด ชาวบ้านก็เริ่มเสื่อมศรัทธาไม่เข้ามาทำบุญ พระสงฆ์ไม่มีจำวัดกลายเป็นวัดร้าง หลังเป็นวัดร้างนานนับ 100 ปี ในละแวกหมู่บ้านได้มี การสร้างวัดขึ้นมาใหม่ชื่อว่า วัดไผ่ล้อม ชาวบ้านจึงหันไปเลื่อมใสศรัทธาและไปทำบุญที่วัดไผ่ล้อมแทน ต่อมาชาวบ้านได้มาย้ายกุฏิที่ วัดสังกระต่ายไปสร้างเป็นกุฏิใหม่ที่วัดไผ่ล้อม เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้ใช้จำวัด ทำให้วัดสังกระต่ายเหลือเพียงโบสถ์ร้างที่ถูกปกคลุม ไปด้วยต้นโพธิ์อย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน เมื่อก่อนวัดสังกระต่าย มีเพียงพระพุทธรูป 3 องค์ที่อยู่ข้างในคือ หลวงพ่อวันดี หลวงพ่อศรี และหลวงพ่อสุขเท่านั้น แต่มีสภาพที่โดนตัดเศียรกองไว้กับพื้น จนต้องมีการบูรณะซ่อมแซมต่อเศียรพระไว้กับองค์พระ ส่วนหลวงพ่อแก่น ได้นำเศียรพระที่ถูกตัดมาจาก อ.วิเศษชัยชาญมาบูรณะสร้างองค์ใหม่และประดิษฐานไว้ แต่ยังมีชาวบ้านบางส่วนยังมีความเลื่อมใส ศรัทธาในตัววัดถึงแม้จะเป็นวัดร้างก็ตาม บ้านไหนมีงานบุญงานมงคลจะมากราบไหว้ที่วัดแห่งนี้ ยิ่งเป็นงานบวชก็จะแห่นาคมาเวียนรอบ โบสถ์ร้างโบราณ แห่งนี้ 3 รอบบ้าง 9 รอบบ้าง ก่อนที่จะแห่นาคไปยังวัดที่จะอุปสมบทอีกที จึงได้รับการดูแลจาก สำนักงานเทศบาล ตำบลศาลาแดงและชาวบ้านเป็นอย่างดี ส่วนพื้นที่ของวัดส่วนใหญ่ชาวบ้านได้เช่าไปเพื่อประโยชน์
หลังมีเสียงร่ำลือถึง ความสวยงามของโบสถ์แห่งนี้ ก็เริ่มมีผู้คนสนใจมาชมโบสถ์มากขึ้น กรมศิลปากรได้สั่งให้เจ้าหน้าที่เก็บข้อมูล เตรียมขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งใหม่อีกด้วยโดยมุ่งเน้นให้คงสภาพเป็นโบราณสถานที่มีศิลปกรรมที่สวยงามตามธรรมชาติเอาไว้
วัดสังกระต่าย ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองอ่างทองประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ไม่ไกลจากวัดขุนอินทประมูล  














บ้านหุ่นเหล็ก อ.เมือง จ.อ่างทอง 
พิกัด 14 37.6882N  100 28.386E














  บ้านหุ่นเหล็ก เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของนายไพโรจน์ ถนอมวงษ์ ที่นำอะไหล่เก่าเหลือใช้จากเครื่องยนต์ต่าง ๆ มาสร้างเป็นหุ่นต่าง ๆ นำมาเชื่อมประกอบกันในรูปแบบต่างๆรวมทั้งหุ่นยนต์ที่โด่งดังจากภาพยนตร์หลายๆเรื่อง พวกทรานส์ฟอร์มเมอร์ส สตาร์วอร์ เอเลี่ยน ฯลฯ มีตั้งแต่ขนาดใหญ่ 2-4 เมตร ไล่มาถึงหุ่นขนาดเล็ก




เริ่มต้นบ้านหุ่นเหล็ก เมื่อประมาณ ปี 2543 เกิดจากความชอบส่วนตัวของ คุณไพโรจน์ ถนอมวงษ์ ที่เริ่มต้นทำหุ่นเหล็กด้วยเศษเหล็กเหลือใช้จากเครื่องยนต์เก่า ตอนแรกก็ทำเล่นๆ เป็นงานอดิเรก ทำตั้งโชว์ที่บ้าน จนมีคนสนใจและขอซื้อจึงเริ่มทำเป็นชิ้นงานหุ่นเหล็กขนาดเล็กฝากเพื่อนขายในพัทยา จนได้รับความสนใจมากขึ้น จนกระทั้งปี 2547 จึงเริ่มทำหุ่นเหล็กแบบเต็มตัวและทำส่งออกต่างประเทศ และทำหุ่นยนต์ตามสั่งของลูกค้าในรูปแบบที่ลูกค้าต้องการ ในปี 2554 จึงย้ายโรงงานมาตั้งที่จังหวัดอ่างทอง ติดถนนสายเอเชีย ภายในบ้านหุ่นเหล็กมีทั้งส่วนที่จัดแสดง หุ่นเหล็กหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่เป็นหุ่นยนต์ การ์ตูน และสัตว์ต่างๆ  หากใครชอบเป็นพิเศษอยากซื้อกลับบ้านก็มีเป็นหุ่นตัวเล็กๆ ขายในร้านจำหน่ายของที่ระลึกจากบ้านหุ่นเหล็กด้วย และยังมีส่วนของการผลิตหุ่นเหล็ก ให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชม และชื่นชมผลงานที่เป็นฝีมือของคนไทยล้วนๆ



ที่ตั้ง : ถนนสายเอเซีย(ทางหลวงหมายเลข 32) ฝั่งขาเข้า
หลักกิโลเมตรที่ 55.5
41/2 หมู่ 6 ต.ตลาดกรวด อ.เมือง จ.อ่างทอง
โทร: 081-3393345




คืนนี้พักที่ เจ้าพระยาธารา ริเวอร์











ไม่มีความคิดเห็น:

PP Tour

ร้านอาหาร

[ร้านอาหาร][bsummary]

www.grandbookinggroup.com

โรงแรม

[โรงแรม][bsummary]

หอพักสตรีสุดารัตน์

อื่น

[อื่น][bleft]

วช

[วช][twocolumns]

หอพักสตรีสุดารัตน์

ภาคกลาง

[ภาคอีสาน][twocolumns]