ads 1081*250

ads 1081*250

บทความที่ได้รับความนิยม

ถ่ายดาว เป็นหาง Startrails


เกาะหมาก หน้าที่พัก เกาะหมาก รีสอร์ท วันที่ 8 ธค 57 เวลา 22.00น
D600 + 17-35tamron
ISO200 f2.8 30s 60pic
ขอบคุณ ททท ตราด

ม่อนวิวงาม ที่เชียงใหม่ วันที่มีฝนดาวตก
15 ธค 2557 เวลา 22.25น

D600 + 17-35tamron
ISO500 f2.8 30s 30pix



คืนวัน ฝนดาวตก ได้ดาวตกมาดวงนึง เส้นทางซ้ายมือ

ม่อนวิวงาม ที่เชียงใหม่ วันที่มีฝนดาวตก
15 ธค 2557 เวลา 22.25น

D600 + 17-35tamron
ISO500 f2.8 30s 30pix




ม่อนวิวงาม ที่เชียงใหม่ วันที่มีฝนดาวตก
15 ธค 2557 เวลา 03.25น
ม่อนวิวงาม คืนวัน ฝนดาวตก ดาวตกได้แต่มอง น้ำค้างเยอะคับ จับหน้าเลนซ์ ทำให้ไม่คม 
D600 + 17-35tamron
ISO500 f2.8 30s 30pix




23 ธค 2557
ภูกระดึง จับช้างไม่ติด จับดาวมาฝากแทนครับ
D600 + 17-35tamron
ISO 3200 f2.8 30s 30pix



รวบรวมบทความ จากหลายๆที่ มาประกอบแล้วก็หาแนวทางเอาเองครับ

อุปกรณ์
-Nikon D600 + 17-35tamron หรือ 14-24n
-ขาตั้งกล้อง

ตั้งกล้อง ปรับอะไรบ้าง
-หลักๆ ก็ จะเปิดไม่เกิน 30วิ ไม่งั้นดาวจะเคลื่อนที่
-เปิดหน้ากล้องกว้างสุด
-โฟกัสที่ไหน  ผมใช้แอฟ คำนวนหา Hyperfocus
-ISOก็ลองตั้งแต่ 1600-6400 หรือลดลงมา
-ปิด Active dlight
-ปิด  NR
-ใช้ Self timer 2s
-Interval Timer Shooting:  33s    30-45times  ก็ประมาณ 15-20นาที พอแล้วครับ
-สร้างโฟลเดอร์ใหม่เสมอ เดียวจะหารุปไม่เจอ

ถ่ายเป็น JPG ก็พอครับ


สุตรเดียวกับถ่าย ทางช้างเผือก

ใช้แอฟช่วยหาทิศ และทางช้างเผือก
แอนดรอย  sky safri

******************************************************************************
https://www.facebook.com/notes/anan-charoenkal/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C-tonnaja/450040985059293
เทคนิคการถ่ายดาวหมุนสไตล์ Tonnaja
November 20, 2012 at 11:59pm
ใกล้ปีใหม่แล้ว ออกไปล่าดาวกันเถิด

เริ่มต้น ...
การจะถ่ายดาวให้หมุนได้มันก็ต้องมีดาวก่อน ฟ้าที่เต็มไปด้วยดาว หลายภาพเราเห็นดาวหมุนเป็นวงกลมรอบจุดศูนย์กลางจุดนั้นคือดาวเหนือ วิธีการหาดาวเหนือก็ไม่ยากควรมีเข็มทิศไว้ อาจจะใช้โปรแกรม compass ในโทรศัพท์มือถือก็ได้ ดาวเหนือจะกระพริบเห็นไม่ยากเท่าไหร่ในความมืด หรืออยากให้แน่ชัดเลยก็ต้องโปรแกรม Google Star map ลองหามาลงดูกันสำหรับแอนดรอย

หาทิศ ...
ถามว่าทำไมต้องถ่ายทิศเหนือด้วยเหรอ ตอบว่าไม่จำเป็นก็ได้แต่เส้นดาวอาจจะไม่ได้เป็นแบบที่เราคาดหวังไว้ซักเท่าไหร่ หลังๆการถ่ายดาวของผมเน้นที่ตัวแบบเป็นหลักเลยทิศทางดาวถ้าลงตัวจะยิ่งดี

โฟกัสที่ไหนดี ....
หลังจากได้ทิศทางแล้ว ก็คือแบบที่จะถ่าย ส่วนมากการถ่ายใช้เลนส์ wide ถ่ายเพราะว่าจะเก็บดาวสวยๆที่ท้องฟ้าได้เยอะๆ แล้วก็ง่ายกับการจัดคอมโพส ปัญหาต่อมาหลังจากได้แบบที่คิดว่าโอเคแล้ว ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ภูเขา ก้อนหิน อะไรๆก็มาหมุนได้ทั้งนั้น ถามว่าควรถ่ายที่ F เท่าไหร่ดี ตอบว่าค่า F ส่งผลอยู่เรื่องขนาดเส้นดาวยิ่งกว้างเส้นยิ่งหนาจะทำให้ดูดาวหนาขึ้นดูสวยงามมากขึ้น แต่บางคนก็ชอบเส้นเล็กๆประมาณ f4 f5.6 ก็แล้วแต่สไตล์
ค่า F จะไปมีผลกับเรื่องของระยะชัดด้วยต้องระวังให้มาก ดังนั้นเรื่องระยะโฟกัสเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะว่าถ่ายมาไม่ชัดคงจะเสียเวลารอเปล่าๆ การที่หลายๆคนบอกให้โฟกัสที่ระยะอนันต์นั้นมันก็ถูกแต่อาจจะไม่ทั้งหมด ยิ่งการหมุนโฟกัสด้วยมือแล้วยิ่งลำบากอาจจะเกิดความผิดพลาดได้ง่าย แล้วยิ่งกับแบบที่เอามาถ่ายดาวหมุนเช่นต้นไม้ถ้าอยู่ใกล้กล้องมากไปใช้ F ที่กว้างอาจทำให้ดาวไม่คมชัดได้

มารู้จัก Hyperfocal ...
ปัญหานี้อาจจะแก้ไขด้วยความเข้าใจเรื่องของ Hyperfocal เป็นอะไรที่เข้าใจยากเหมือนกันแต่จะลองอธิบายคร่าวๆ โดยสามารถเอาไปประยุกต็ใช้กันภาพแนว Landscape ได้ด้วยเช่นกัน จริงๆมันมีสูตรคำนวนหรือเป็นตาราง Hyperfocal แต่เด๋วนี้ทั้งแอนดรอยและ iphone ก็มีแอพคำนวน Hyperfacal รวมทั้ง Depth of field calculator มาใช้เราซึ่งสามารถช่วยได้มากๆเลย โปรแกรมจะให้ใส่ค่าระยะของเลนส์ ค่า F แล้วโปรแกรมจะคำนวนมาว่าระยะไหนคือ Hyperfacal ลองเช่น 16mm f4 (เป็นระยะที่ผมใช้ถ่ายดาวประจำ) ระยะเท่ากับ 2.149 m คือให้โฟกัสไปที่ระยะ 2.149m จะทำให้เกิดระยะชัดที่ตั้งแต่ 1.075m จนถึงอนันต์ ทุกอย่างจะชัดหมดอันนี้ก็จะเป็นประโยชน์ถ้าต้นไม้เราอยู่ที่ระยะ 3m จากกล้องเราลองเข้าโปรแกรมคำนวน Depth of field ดูว่า 16mm f4 โฟกัสที่ระยะ 3m จะได้ผลอย่างไร ผลก็คือว่า DOF ตั้งแต่ 1.251m - อนันต์ ก็คือว่าถ่ายดาวได้

อันนี้เป็นเคสที่ยกตัวอย่างถ้าใช้เลนส์ 24mm 1.4 เปิดกว้างสุดจะถ่ายดาวอยากได้เส้นหนาๆสวยๆ ถ่ายต้นไม้ต้นเดิมที่ระยะ 3m กะถ่ายดาวให้ชัดปรากฎว่าดาวเบลอก็มาเพราะสามารถของระยะโฟกัสนั่นเอง ลองเอาเข้าโปรแกรม DOF Calculator 24mm f1.4 ระยะ 3m ได้ระยะชัดที่ 2.461m - 3.842m จะเห็นได้ว่าระยะชัดบางมาก ดาวก็เลยเบลอ แท้จริงแล้วค่า hyperfocal ของ 24mm f1.4 อยู่ที่ 13.6m เลยทีเดียว จะให้ระยะชัดที่ 6.8m - อนันต์ แบบนี้จะถ่ายแบบที่เป็นต้นไม้ให้ชัดนั้นเราต้องถ่ายโฟกัสไปที่ระยะอย่างน้อย 13.6m ถึงจะชัดอนันต์

สรุปกันตรงนี้ ง่ายๆไม่งง ถ้าจะถ่ายฉากดาวที่ไม่มี subject อะไรที่ต้องเน้น เช่นทิวเขากับดาวดาว เราจิิ้มไปที่10 - 20 เมตรเลยก็จะชัดอนันต์ แต่ปัญหาถ้าต้องมีแบบ แล้วถ้าแบบไม่ชัดนี่ก็คงจะไม่ได้ ก็ต้องเช็คระยะ Hyperfocal กันหน่อย ระยะถ่ายคือไม่ต่ำกว่า hyperfocal ไม่งั้นการที่เราโฟกัสที่แบบจะไม่ชัดไปอนันต์ ยกตัวอย่าง ถ่ายที่ 17mm f2.8 ระยะ hyperfacal เท่ากับ 3.423 จะให้ระยะชัดที่ 1.711 - อนันต์ ถ้าเราไม่รู้เรื่องพวกนี้ เราไปโฟกัสที่แบบซึ่งแบบอาจจะอยู่ที่ 3 m เราก็โฟกัสไปที่แบบ ปรากฎว่าการที่ระยะโฟกัสแค่ 3m นั้นซึ่งน้อยกว่า hyperfocal จะให้ระยะชัดตั้งแต่  1.599m - 24.161m นั่นไงล่ะ ทำไมดาวไม่ชัดว้า !!!

อ่านแล้วงงก็ไม่แปลก แต่หวังว่าจะเข้าใจ ลองจินตนาการไปด้วยนะครับ

การชดเชย ...
ผ่านเรื่องระยะชัดไปแล้ว โปรดใส่ใจให้จงหนัก ยิ่งใครถ่าย F กว้างๆอยากได้เส้นดาวแจ่มๆยิ่งต้องระวังเรื่องระยะชัดให้มาก ต่อมาทำไงมันมืดเหลือเกินมองไม่เห็นจัดคอมโพสไม่ได้ แนะนำเปิด iso ในกล้องสูงสุดเลยครับแล้ว F กว้างสุดลองถ่ายดูซัก 1 วิก็น่าจะเห็นอะไรเยอะแล้ว อ้อใช้โหมด M นะครับจะได้สะดวกในการปรับแต่ง เราก็ลองถ่ายไปจัดคอมโพสไปแล้วก็ล๊อคขาตั้งซะจะได้ถึงเวลาถ่ายจริงแล้ว

การถ่ายมีหลายแบบ แต่ขอแนะนำแบบไปต่อเองจะเวิร์คมากกว่า การเปิดหน้ากล้องนานๆจะทำให้เกิน noise และ hotpixel จำนวนมาก เราจะใช้วิธีการถ่ายแบบ interval คือเป็นช่วงๆแล้วนำมาต่อกัน ถ้ากล้องที่มี interval ก็สามารถตั้งได้ 30s แต่ถ้ามีสายลั่นแบบ interval timer ได้ก็จะสามารถตั้งได้อิสระ หรือไม่มีอะไรเลยสายลั่นกับนาฬิกาจับเวลาก็นั่งกดแมนมวลเอาเลย มาถึงตรงนี้ต้องชดเชยแสงเป็นนับสตอปเป็น ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานมากๆ

iso 50 100 200 400 800 3200 6400 12800(H1) 25600(H2)
F 1.4 2 2.8 4 5.6 8 11 13 16 22

การระบายฉากหน้าและแสงจันทร์ ...
ค่าพวกนี้จะสำคัญทันทีเมื่อเราจะชดเชยแสง แต่ก็มีโปรแกรมที่คำนวนให้มันคือโปรแกรม Exposure Calculator อยู่ในโปรแกรม Phoforpho ในแอนดรอยลองโหลดกันดูได้ แต่ตอนนี้จะสอนวิธีนับแบบชาวบ้านๆให้ สมมุติว่าเราเปิดที่ F2.8 iso 6400 5s แสงกำลังพอดี(เช็คพวกฮิลโตแกรมด้วย) ไอ้ที่ถามว่าจะพอดีหรือไม่อันนี้ต้องแยกประเด็นอีก การถ่ายดาวแบบเอามาซ้อนนั้นเราไม่ต้องถ่ายแบบลากนาน ฉากหน้าเราจำคุมได้ลำบากมาก การระบายฉากหน้าจึ้นเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าใครถ่ายดาวช่วงที่มีแสงจันทร์จะพบว่าเราแทบไม่ต้องระบายเปิดฉากหน้าเลย เพราะแสงจันทร์นั้นสว่างๆมากๆอยู่แล้ว(ระวังพระจันทร์ตกด้วยนะครับ เพราะว่าพระจันทร์เคลื่อนที่ตลอดเวลา) แต่ถ้าเป็นคืนเดือนมืดถ่ายให้เห็นดาวแล้วฉากหน้าก็ยังดำอยู่ เราก็ต้องพึงไฟฉายหรือไม่ก็แฟลชแล้วแต่ถนัดเลย ปกติ WB ที่ใช้ผมชอบ 3500K เพราะท้องฟ้าจะเป็นสีน้ำเงิน การระบายฉากหน้าควรระบายด้วยไฟฉายสีส้มเพราะว่าจะได้สีตัวแบบกลับมาจากการชดเชยเรื่องของ WB หรือไม่ก็แฟลชเจลส้มก็ใช้ได้ ถ้าถ่ายเอาไปต่อด้วยโปรแกรมเราถ่ายฉากหน้าสวยๆซัก 1 ใบก็ได้แล้วทีเหลือถ่ายดาวเอามาต่อภายหลัง

มาคำนวนกัน ...
เมื่อเราได้ค่าที่แสงพอดีแล้ว โฟกัสก็คิดว่าดาวน่าจะคมแล้ว คอมโพสจัดแล้วเราก็มาชดเชยค่าแสงกัน จากตัวตั้งเปิดที่ F2.8 iso 6400 5s เราอยากได้ซัก iso 200 ที่ f4 ก็พอกลัวไม่ชัด ถามว่าต้องถ่ายกี่วินาที อันนี้ต้องมานับกัน
iso 6400 ---> iso 200 เท่ากับ -5 stop
F2.8 ----> F4 เท่ากับ -1stop
รวมเป็น -6 stop เราต้องชดเชยด้วยการเปิดหน้ากล้องให้นานข้ึนไป 5s ทั้งหมด 6 stop จะได้เป็น
5s > 10s > 20s > 40s > 80s > 160s > 320s
คือต้องเปิดหน้ากล้อง 320s = 5min 20s เราก็มานั่งกดจับเวลาไปช๊อตละ 5min 20s ไปเรื่อยๆต่อเนื่อง
สำหรับคนที่อยากได้ interval 30s อาจต้องแลกมากับการทด iso กลับไปจำนวนมาก

โปรแกรมต่อดาวที่แนะนำก็คือโปรแกรม Startrails ลองหาโหลดกันมาดูครับ ถ่ายเป็น RAW+JPG ก็ได้นะครับ แต่ถ้าเปิด interval 30s ถ่ายแต่ JPG ก็พอแล้วไฟล์จะเยอะมากๆ



*** ต่อไปอย่ามาถามนะครับ ว่าถ่ายดาวเปิดเท่าไหร่ใช่ตั้งค่าเท่าไหร่ มันตอบไม่ได้มันต้องวัดต้องดูเอาหน้างานครับ
*************************************************************

ขุดภาพเก่ามาเล่า...ทำดาวให้มีหาง

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000109427

    สำหรับคอลัมน์นี้ เราจะมาพูดกันถึงเรื่องการนำเอาภาพเส้นแสงดาวเก่าๆ ที่เราอาจเคยถ่ายไว้มาลองทำภาพกันใหม่อีกครั้ง แต่ความพิเศษมันอยู่ที่เป็นการทำภาพที่ถ่ายเส้นแสงดาวไว้ในเวลาสั้นๆ ให้น่าสนใจมากขึ้น หลายๆ ครั้งที่เราตั้งใจออกไปถ่ายภาพเส้นแสงดาว หรือที่เรียกว่าทั่วไปว่า Startrails โดยวางแผนว่าต้องถ่ายให้ได้เส้นแสงดาวยาวๆ ซึ่งนั้นหมายถึงทัศนวิสัยของท้องฟ้าจะต้อง “เคลียร์” กว่า 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย แต่หลายๆ ครั้งเรามักพบกับความผิดหวัง และมีเวลาถ่ายภาพเส้นแสงดาวได้เพียงไม่กี่สิบนาที แล้วทิ้งภาพเหล่านั้นไป
     
       วันนี้เรามาผลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ผมขอแนะนำซอฟท์แวร์ที่เราใช้กันบ่อยในการต่อภาพเส้นแสงดาว คือ Startrails V.2.3 for Window และ StarStaX V.0.60 for Mac โดยเวอร์ชันใหม่นี้ทั้งสองซอฟท์แวร์จะมีฟังก์ชัน ที่สามารถทำดาวหาง หรือดาวตกได้ครับ ดังนั้น ตอนนี้หากใครที่มีภาพเส้นแสงดาวเก่าที่ถ่ายได้เพียงไม่กี่สิบภาพก็ลองเอาออกมาทำเล่นกันดูได้นะครับ รับรองว่าภาพเส้นแสงดาวสั้นๆ ของคุณจะดูน่าสนใจขึ้นมากเลยครับ ก่อนหน้านี้ช่างภาพต่างประเทศเค้าฮิตใช้เทคนิคนี้กันพอสมควร เอาละครับมาลองดูกันว่าฟังก์ชันที่กล่าวมานี้ทำอย่างไร
     
       ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์กันก่อนเลย
        StarStaX V.0.60 สามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ทั้ง Mac OS X และ Windows ได้ตามลิงค์ http://www.markus-enzweiler.de/StarStaX/StarStaX.html
        Startrails V 2.3 สามารถดาวน์โหลดใช้งานสำหรับ Windows ได้ตามลิงค์
       http://www.startrails.de/html/software.html


**********************************************************************

แก้ปัญหาเส้นแสงดาวต่อไม่สนิท พิชิตด้วย Gap Filling


http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9570000024153

​สำหรับคอลัมน์นี้ขอพักเรื่อง การถ่ายภาพทางช้างเผือกไว้ก่อนนะครับ เรากลับมาดูปัญหาหนึ่งของการต่อภาพเส้นแสงดาว (Startrails) ซึ่งเราจะมาแก้ไขปัญหาของการถ่ายภาพเส้นแสงดาว ที่อาจมีบางช่วงที่เส้นดาวขาดๆ ไปนิดๆ หน่อยๆ หากเรานำภาพไปขยายใหญ่ก็อาจจะเห็นว่าเส้นแสงดาวไม่ต่อกัน จนดูคล้ายเป็นเส้นประ แต่ปัญหานี้เราสามารถแก้ไขได้ง่ายๆ เพียงเลือกคำสั่ง Gap Filling ในโปรแกรม StarStax 0.60 ก็สามารถช่วยแก้ไขได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว มาลองดูวิธีกันครับ

แก้ปัญหาเส้นแสงดาวต่อไม่สนิท พิชิตด้วย Gap Filling

       หลังจาก Add ไฟล์ภาพและไฟล์ Dark แล้วไปที่คำสั่ง Blending Mode แล้วเลือกเมนู Gap Filling เพื่อให้แก้ไขในส่วนของภาพที่ขาดเป็นเส้นประ

แก้ปัญหาเส้นแสงดาวต่อไม่สนิท พิชิตด้วย Gap Filling
ในเมนู Gap Filling สามารถปรับค่า Threshold และ Amount เพื่อแก้ไขภาพ

       ​และนอกจากโปรแกรม StarStax 0.60 แล้ว ยังมีโปรแกรม Startrails 2.3 ที่มีคำสั่ง Lighten Screen-Blend ในรูปแบบการทำงานที่คล้ายกันก็สามารถช่วยให้ภาพเส้นแสงดาวที่ขาดๆ เป็นเส้นประ กลับมาต่อกันได้สนิทยิ่งขึ้น โดยมีวิธีดังนี้





ไม่มีความคิดเห็น:

PP Tour

ร้านอาหาร

[ร้านอาหาร][bsummary]

www.grandbookinggroup.com

โรงแรม

[โรงแรม][bsummary]

หอพักสตรีสุดารัตน์

อื่น

[อื่น][bleft]

วช

[วช][twocolumns]

หอพักสตรีสุดารัตน์

ภาคกลาง

[ภาคอีสาน][twocolumns]