สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชมฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ คืนวันที่ 21 ตุลาคม 2560 สังเกตได้ตั้งแต่ 5 ทุ่มเป็นต้นไป หากฟ้าใส-ไร้ฝนชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ
วันที่ 19 ตุลาคม 2560 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ ในวันที่ 21 ตุลาคม นี้ โดยมีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 น. เป็นต้นไป ทางทิศตะวันออก พร้อมแนะนำว่า ควรชมในจุดที่มืดสนิทและห่างจากเมือง หากปลอดฝนสามารถชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ
- ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ จะสังเกตเห็นในช่วง 2 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน ของทุกปี
- ปีนี้ “คาดการณ์” ว่า ช่วงพีคสุด ตามเวลาประเทศไทย คือ ดึกๆ ประมาณ 23:00 เป็นต้นไป ของคืนวันที่ 21 ตุลาคม จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 22 ตุลาคม
- คาดว่าอัตราการตกสูงสุดในปีนี้ เพียง 20 ดวง ต่อชั่วโมง
- ก่อนหน้าหรือหลังวันที่คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุด ก็สามารถสังเกตเห็นฝนดาวตกได้
- สามารถสังเกตเห็นได้ทุกที่ ต้องเป็นที่มืด ไร้แสงรบกวน
- ถ้าพลาดคราวนี้ ยังมี ฝนดาวตกลีโอนิดส์ในเดือนพฤศจิกายน และฝนดาวตกเจมินิดส์ในเดือนธันวาคมให้ชมกันครับ
สังเกตการณ์
เราสามารถสังเกตการณ์ได้ทางทิศตะวันออกตั้งแต่ก่อนกลุ่มดาวนายพรานขึ้นคือประมาณเที่ยงจนถึงเช้ามืดของวันที่ 20-21 ตุลาคม ภายใต้สภาพท้องฟ้าใสเคลียร์ ไม่มีเมฆฝนเป็นอุปสรรค สำหรับปีนี้เป็นช่วงคืนเดือนมืด หากฟ้าเปิดให้ชวนกันไปสังเกตการณ์กันครับ
วิธีการถ่ายภาพก็ไม่ยากครับ
ให้ตั้งกล้องถ่ายภาพหันกล้องไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทิศที่กลุ่มดาวนายพรานจะขึ้น ใช้เลนส์มุมกว้าง ตั้ง ISO สูงตั้งแต่ 3200 ขึ้นไป เพื่อจับความสว่างของฝนดาวตกให้ได้ ตั้ง Exposure 20-30 วินาที ใช้ Aperture กว้างที่สุด ถ่ายภาพผ่าน Timer หรือ ใช้สายลั่นชัตเตอร์ ปรับตำแหน่งของกล้องทุกๆ 5-10 นาที เพื่อให้กลุ่มดาวนายพรานอยู่กลางเฟรม เก็บภาพไปเรื่อยๆจนได้จำนวนดาวตกจนพอใจ แล้วนำมารวมบนเฟรมที่เป็นฉากหน้าหรือเฟรมที่ดีที่สุด
มอเตอร์ตามดาวหรือ Star Tracker เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การถ่ายภาพฝนดาวตกได้ดี โดยไม่ต้องขยับกล้องบ่อยๆ อีกทั้งช่วยให้ลาก Exposure ได้นานขึ้น จากเฟรมละ 30 วินาทีเป็นเฟรมละ 120 วินาที แน่นอนย่อมมีฝนดาวตกอยู่เฟรมมากขึ้น งานโพรเซสก็ง่ายสวยงามขึ้นครับ
สั่งทำได้ตาม FB : Starry Night Gears https://www.facebook.com/starrynightgears/ มาเป็นนักล่าดาวตกกันครับ
- ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ จะสังเกตเห็นในช่วง 2 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน ของทุกปี
- ปีนี้ “คาดการณ์” ว่า ช่วงพีคสุด ตามเวลาประเทศไทย คือ ดึกๆ ประมาณ 23:00 เป็นต้นไป ของคืนวันที่ 21 ตุลาคม จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 22 ตุลาคม
- คาดว่าอัตราการตกสูงสุดในปีนี้ เพียง 20 ดวง ต่อชั่วโมง
- ก่อนหน้าหรือหลังวันที่คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุด ก็สามารถสังเกตเห็นฝนดาวตกได้
- สามารถสังเกตเห็นได้ทุกที่ ต้องเป็นที่มืด ไร้แสงรบกวน
- ถ้าพลาดคราวนี้ ยังมี ฝนดาวตกลีโอนิดส์ในเดือนพฤศจิกายน และฝนดาวตกเจมินิดส์ในเดือนธันวาคมให้ชมกันครับ
สังเกตการณ์
เราสามารถสังเกตการณ์ได้ทางทิศตะวันออกตั้งแต่ก่อนกลุ่มดาวนายพรานขึ้นคือประมาณเที่ยงจนถึงเช้ามืดของวันที่ 20-21 ตุลาคม ภายใต้สภาพท้องฟ้าใสเคลียร์ ไม่มีเมฆฝนเป็นอุปสรรค สำหรับปีนี้เป็นช่วงคืนเดือนมืด หากฟ้าเปิดให้ชวนกันไปสังเกตการณ์กันครับ
วิธีการถ่ายภาพก็ไม่ยากครับ
ให้ตั้งกล้องถ่ายภาพหันกล้องไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทิศที่กลุ่มดาวนายพรานจะขึ้น ใช้เลนส์มุมกว้าง ตั้ง ISO สูงตั้งแต่ 3200 ขึ้นไป เพื่อจับความสว่างของฝนดาวตกให้ได้ ตั้ง Exposure 20-30 วินาที ใช้ Aperture กว้างที่สุด ถ่ายภาพผ่าน Timer หรือ ใช้สายลั่นชัตเตอร์ ปรับตำแหน่งของกล้องทุกๆ 5-10 นาที เพื่อให้กลุ่มดาวนายพรานอยู่กลางเฟรม เก็บภาพไปเรื่อยๆจนได้จำนวนดาวตกจนพอใจ แล้วนำมารวมบนเฟรมที่เป็นฉากหน้าหรือเฟรมที่ดีที่สุด
มอเตอร์ตามดาวหรือ Star Tracker เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การถ่ายภาพฝนดาวตกได้ดี โดยไม่ต้องขยับกล้องบ่อยๆ อีกทั้งช่วยให้ลาก Exposure ได้นานขึ้น จากเฟรมละ 30 วินาทีเป็นเฟรมละ 120 วินาที แน่นอนย่อมมีฝนดาวตกอยู่เฟรมมากขึ้น งานโพรเซสก็ง่ายสวยงามขึ้นครับ
สั่งทำได้ตาม FB : Starry Night Gears https://www.facebook.com/starrynightgears/ มาเป็นนักล่าดาวตกกันครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น