ศรัทธาและชีวิต องค์พระธาตุสิ่งศักดิ์สิทธื์เมืองด่านซ้าย ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบคนไม่เอาถ่าน อพท.เลย
Labels:
ภาคอีสาน
ศรัทธาและชีวิต องค์พระธาตุสิ่งศักดิ์สิทธื์เมืองด่านซ้าย
ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบคนไม่เอาถ่าน อพท.เลย
ก่อนจะขึ้นไปสักการะพระธาตุศรีสองรักนั้นมีข้อต้องปฏิบัติอยู่บ้าง ดังนี้ครับ
บ้านเดิ่น
การจัดงานพิธีสมโภชน์และนมัสการพระธาตุศรีสองรัก ของอำเภอด่านซ้าย ในปีนี้จะมีขึ้นราวเดือนพฤษภาคม -มิถุนายนของทุกปี ใครที่ยังไม่มีโปรแกรมไปท่องเที่ยวที่ไหน ก็เตรียมวางแผนเดินทางไปร่วมงานกันได้... สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม อำเภอด่านซ้าย 042 891266
ที่หอหลวง (บริเวณใกล้องค์พระธาตุ ศรีสองรัก) บริเวณ บ้านเดิ่น อำเภอ ด่านซ้าย
////////////////////////////////////////////////////////////
ออกเดินทาง จากด่านซ้าย มุ่งสู่ภูเรือ
ดินแดนดอกไม้งานสามฤดู
กิจกรรมรักษ์โลก ปลูกต้นไม้ในใจคุณ ณ สวนลุงวุฒิ
ประวัติความเป็นมา เมื่อปี 2537 คุณลุงวุฒิ เชยกลิ่นเทศ อายุประมาณ 70 ปี ซึ่งขณะนั้น ท่านได้ดำรงตำแหน่ง ประธาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทบางกอกฟลาวเวอร์ จำกัด เป็นบริษัทส่งออกกล้วยไม้รายใหญ่ของไทยย่านหนองแขม ท่านคิดว่าปั้นปลายชีวิตเมื่อเกษียณจากตำแหน่ง แล้วจะมาผักผ่อนที่อำเภอภูเรือ จึงชักชวน ศ.คร. ระพี สาคริก ขึ้นมาดูที่อำเภอภูเรือ และซื้อไว้คนละ 1แปลงเล็กๆ ไว้สำหรับเป็นบ้นพักตากอากาศ แล้วก็ไปๆมาๆ กทม.-เลย ประมาณ 2 ปี
ในขณะนั้นช่วงเวลาว่าง คุณลุงวุฒิก็ได้ศึกษาพันไม้ชนิดต่างๆ ไปเรื่อยๆแล้วเกิดสนใจกับ สับปะรดสี (ปรอมมีเลียด) ซึ่งเป็นพืชเมืองหนาวจึงทดลองซื้อจากสวนจตุจักร มาทดลองปลูกและขยายพันธ์ที่อำเภอภูเรือซึ่งสามารถทำได้ดี จึงนำไปขายที่ตลาดนัดสวนจตุจักร สมัยนั้นสับปะรดสีราคาสูงมากจุดนั้นทำให้ลุงวุฒิเกิดความคิดว่าน่าจะทำการเพาะปลูกไม้ดอกเมืองหนาวเพื่อไว้ขายในประเทสดีกว่า เมื่อการปลูกและขายทำได้ดี คุณลุงวุฒิและ ศ.คร.ระพี สาคริก ทั้งสองท่านได้เป็นตัวตั้งตัวตี ในการจัดงานไม้ดอกเมืองหนาวที่อำเภอภูเรือซึ่งจัดในช่วงปีใหม่ (ปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม) ของทุกปีทำให้อำเภอภูเรือเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ทำให้ชาวบ้านโดยเฉพาะบ้านหนองบงซึ่งเดิมที่มีอาชีพทำไร่นาก็หันมาปลูกไม้ดอกไม้ประดับขายเป็นอาชีพหลัก
กิจกรรมรักษ์โลก ปลูกต้นไม้ในใจคุณ ณ สวนลุงวุฒิ
เขี่ยเอาดินออก ลงใส่ในกระถางใหม่ ใส่เครื่องปลุก
ได้กลับไปคนละต้นสองต้น
ขอบคุณครับ
///////////////////////////////////
หิวแล้ว กองทัพเดินด้วยท้อง คณะเราผูกปิ่นโต
มื้อกลางวัน ณ ภูเรือนไม้ รีสอร์ท ดีมีนา
เรียนรู้วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ทำนาโยน เกษตรอินทรีย์
ณ ภูเรือนไม้ รีสอร์ท
ลดขั้นตอน ประหยัด
พระธาตุสัจจะ
พระธาตุนี้สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดดวงชะตาพระธาตุพนมที่เคยหักโค่นลงในอดีต จึงมีลักษณ์คล้ายคลึงกับพระธาตุพนม ซึ่งองค์ประธาตุสัจจะประกอบกลีบดอกบัว 3 ชั้น สูงประมาณ 1 เมตร ล้อมรอบองค์พระธาตุ มีลวดลายและลักษณ์คล้ายกับพระธาตุพระนม มีความสูง 33 เมตร และมีศวตฉัตร 7 ชั้นประดิษฐานไว้บนยอดสูงสุดของพระธาตุ สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2518 พระธาตุสัจจะเป็นปูชนีย์สถานอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวอำเภอท่าลี่
//////////////////////////////////////
ออกเดินจากภูเรือ สู่ อ.เชียงคาน
ดินแดนบ้านไม้เก่า วัฒนธรรมสองฝั่งโขง
เชียงคาน เมืองเก่าแก่ริมฝั่งโขงอายุกว่า ๑๐๐ ปี วัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างไทยลาวและวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ บ้านไม้ริมฝั่งโขงที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้จำนวน ๒๒๒ หลัง วัดที่รวมศิลปะจากล้านช้างและล้านนา พระพุทธรูปเก่าแก่ ภาพเขียนจิตรกรรมเก่าแก่ที่มีชื่อเสียง หัตถกรรมผ้าห่มนวมทำมือจากฝ้า
กิจกรรม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบ คนไม่เอาถ่าน
การทำผาสาดลอยเคาระห์ พิธีกรรมและความเชื่อของชาวฝั่งโขง
ผาสาดนั้นจะมี 2 ขนาดด้วยกัน คือ ขนาดเล็ก เรียกว่าผาสาดลอยเคราะห์ และขนาดใหญ่ เรียกว่าผาสาดสะเดาะเคราะห์ ซึ่งผาสาดลอยเคราะห์(ขนาดเล็ก) มักจะใช้กับการลอยเคราะห์ทั่วไป เช่นรู้สึกไม่ดี คิดว่าตัวเองจะมีเคราะห์ ก็จะลอยผาสาดโดยการใส่เส้นผม หรือใส่เล็บของตัวเองลงไป ส่วนผาสาดสะเดาะเคราะห์ จะใช้สำหรับคนที่มีเคราะห์ใหญ่ เจ็บป่วยเจียนตาย หรือชะตาขาด ก็จะมีการทำพิธีสะเดาะเคราะห์จากพราหมณ์ด้วย
ชียงคานนินยมนำไปลอยที่แม่น้ำโขงโดยมีความเชื่อว่าเป็นการสะเดาะห์เคราะห์ลงสู่แม่น้ำโขงและเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง แต่จะมีเคล็ดความเชื่อคือถ้าลอยผาสาดในแม่น้ำโขงแล้วเวลาปล่อยลอยเสร็จอย่าหันไปมอง ซึ่งจะหมายความว่าไม่อาลัยอาวรณ์กันแล้วให้สิ่งที่
เป็นเสนียดจัญไรไหลออกไปอย่าหันไปมอง
คืนนี้ผมนอนที่ โฮมสะเตย์ บ้านละมุ่นอุ่นโขง
เดินลงไป อีกซอย จากบ้านต้นโขง
จับช้างมาได้แบบ กลัวๆ หมาไล่
คืนนี้เป็นคืนแรม ที่ม่ีแสงจันทร์รบกวน
ต้องรอให้พระจันทร์ตกไปก่อน แล้วค่อยลองถ่ายช้าง
สูตรถ่ายช้าง
iso 3200 f1.8 30s
ขอบคุณ
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน
โดย สำนักงานพื้นที่พิเศษเลย (อพท.5)
โทร.042 861 116-8, 081 261 4961
http://www.dasta.co.th
และ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเลย
โทร. 0 4281 2812, 0 4281 1405
หรือ 1672 เบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย
พระธาตุศรีสองรัก จ.เลย ตำนานแห่ง 'สัจจะและไมตรี'
ด้วยเจตนารมณ์ของกษัตริย์ ๒ แผ่นดินในครั้งกระโนนนั้นจึงมีผลให้มีการขอร้องและห้ามมิให้ใช้สีแดง ซึ่งถือว่าเป็นสีเลือดในพื้นที่บริเวณ “พระธาตุศรีสองรัก” ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ เครื่องประดับ ของใช้ หรือแม้แต่เครื่องแต่งกาย ทั้งนี้ “สีแดง” อาจเปรียบได้กับ “เลือด” ที่เป็นผลของการทำสงคราม
1. ห้ามใส่เสื้อผ้าสีแดง หรือสีที่ใกล้เคียงสีแดง รวมถึงสิ่งของสีแดงขึ้นไปยังองค์พระธาตุ เพราะสีแดงหมายถึงเลือด การสู้รบ การเป็นศัตรู
2. ห้ามผู้หญิงขึ้นไปบริเวณหน้าพระประธานในอุโบสถ และในกำแพงแก้วรอบองค์พระธาตุ เนื่องจากผู้หญิงร่างกายไม่บริสุทธิ์ในแต่ละเดือน (ประจำเดือน)
3. ห้ามสวมหมวก กางร่ม ใส่กางเกงขาสั้นเหนือหัวเข่าที่ไม่สุภาพ และห้ามใส่รองเท้าขึ้นไป
4. ห้ามนำเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบขึ้นบริเวณองค์พระธาตุ เพราะอาจส่งเสียงดัง วิ่งเล่นซุกซนเข้าไปในที่ห้ามเข้า
5. ห้ามนำสัตว์ทุชนิดขึ้นไปบริเวณองค์พระธาตุ
เรามากันแต่เช้า
ถวายต้นผึ้งที่ทำเมื่อว่าน
การทำต้นผึ้งเพื่อนำไปถวายแด่พระธาตุศรีสองรัก ที่อำเภอด่านซ้าย ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกิจกรรมต้นแบบของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Creative tourism ของ อพท. ที่เป็นแนวคิดในการท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้วัฒนธรรมของท่องถิ่นด้วย
ผุ้หญิงห้ามเข้าข้างใน ก็ฝากวางได้คับ
การเดินแห่ต้นผึ้งสำหรับที่นี่จะเดินเวียนซ้าย (ทวนเข็มนาฬิกา)
คือให้แขนซ้ายเข้าหา พระธาตุ
เสร็จแล้วนำไปวางบริเวณฐานขององค์พระธาตุ เรียบร้อยแล้วจึงทำพิธี
ซึ่งผู้หญิงสามารถไหว้อยู่ด้านนอกได้
ขบวนแห่เจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม งานเลี้ยงหอหลวงประจำปี
ที่หอหลวง (บริเวณใกล้องค์พระธาตุ ศรีสองรัก) บริเวณ บ้านเดิ่น อำเภอ ด่านซ้าย
เดือนเจ็ด จัดงานเลี้ยงหอ (เลี้ยงบ้าน) แนวปฏิบัติของคณะผู้รักษาวัฒนธรรม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย สรุปได้ดังนี้
แนวปฏิบัติของคณะผู้รักษาวัฒนธรรมในประเพณีงานเดือนเจ็ด จัดงานเลี้ยงหอ (เลี้ยงบ้าน) ที่หอหลวง (บริเวณใกล้องค์พระธาตุศรีสองรัก ตำบลด่านซ้าย จังหวัดเลย) และหอน้อยบริเวณใกล้บ้านเดิ่น ตำบลด่านซ้าย จังหวัดเลย เดือนนี้ถือว่าเป็นการจัดเลี้ยงบ้านประจำปี โดยมีพี่น้องในเขตจังหวัดเลย จังหวัดใกล้เคียงต่าง ๆ มาร่วมกิจกรรมนี้นั้นตรงกับเดือน 7 ขึ้น 8 ค่ำ ////////////////////////////////////////////////////////////
ออกเดินทาง จากด่านซ้าย มุ่งสู่ภูเรือ
ดินแดนดอกไม้งานสามฤดู
กิจกรรมรักษ์โลก ปลูกต้นไม้ในใจคุณ ณ สวนลุงวุฒิ
ประวัติความเป็นมา เมื่อปี 2537 คุณลุงวุฒิ เชยกลิ่นเทศ อายุประมาณ 70 ปี ซึ่งขณะนั้น ท่านได้ดำรงตำแหน่ง ประธาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทบางกอกฟลาวเวอร์ จำกัด เป็นบริษัทส่งออกกล้วยไม้รายใหญ่ของไทยย่านหนองแขม ท่านคิดว่าปั้นปลายชีวิตเมื่อเกษียณจากตำแหน่ง แล้วจะมาผักผ่อนที่อำเภอภูเรือ จึงชักชวน ศ.คร. ระพี สาคริก ขึ้นมาดูที่อำเภอภูเรือ และซื้อไว้คนละ 1แปลงเล็กๆ ไว้สำหรับเป็นบ้นพักตากอากาศ แล้วก็ไปๆมาๆ กทม.-เลย ประมาณ 2 ปี
ในขณะนั้นช่วงเวลาว่าง คุณลุงวุฒิก็ได้ศึกษาพันไม้ชนิดต่างๆ ไปเรื่อยๆแล้วเกิดสนใจกับ สับปะรดสี (ปรอมมีเลียด) ซึ่งเป็นพืชเมืองหนาวจึงทดลองซื้อจากสวนจตุจักร มาทดลองปลูกและขยายพันธ์ที่อำเภอภูเรือซึ่งสามารถทำได้ดี จึงนำไปขายที่ตลาดนัดสวนจตุจักร สมัยนั้นสับปะรดสีราคาสูงมากจุดนั้นทำให้ลุงวุฒิเกิดความคิดว่าน่าจะทำการเพาะปลูกไม้ดอกเมืองหนาวเพื่อไว้ขายในประเทสดีกว่า เมื่อการปลูกและขายทำได้ดี คุณลุงวุฒิและ ศ.คร.ระพี สาคริก ทั้งสองท่านได้เป็นตัวตั้งตัวตี ในการจัดงานไม้ดอกเมืองหนาวที่อำเภอภูเรือซึ่งจัดในช่วงปีใหม่ (ปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม) ของทุกปีทำให้อำเภอภูเรือเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ทำให้ชาวบ้านโดยเฉพาะบ้านหนองบงซึ่งเดิมที่มีอาชีพทำไร่นาก็หันมาปลูกไม้ดอกไม้ประดับขายเป็นอาชีพหลัก
คุณธมนวรรณ เชยกลิ่นเทศ ชื่อเล่น หยุ่น ลูกลุงวุฒิ
กิจกรรมรักษ์โลก ปลูกต้นไม้ในใจคุณ ณ สวนลุงวุฒิ
เขี่ยเอาดินออก ลงใส่ในกระถางใหม่ ใส่เครื่องปลุก
เราใช้เวลาที่นี้ไม่นานเท่าไร
ได้กลับไปคนละต้นสองต้น
ขอบคุณครับ
///////////////////////////////////
หิวแล้ว กองทัพเดินด้วยท้อง คณะเราผูกปิ่นโต
มื้อกลางวัน ณ ภูเรือนไม้ รีสอร์ท ดีมีนา
อาหาร เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ปลูกในพื้นที่รีสอร์ท ลดการนำเข้าวัตถุดิบจากพื้นที่ข้างนอก
ซึ่งเป็น เมนูอาหารพื้นบ้าน
ที่ปลอดสารเคมี
ถือได้ว่าเป็นอาหารแบบโลว์คาร์บอน
เรียนรู้วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ทำนาโยน เกษตรอินทรีย์
ณ ภูเรือนไม้ รีสอร์ท
กิจกรรมทำข้าวแดกงา
เมนูข้าวแดกงา โลว์คาร์บอน เพระา วัตถุดิบที่ใช้เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ
คำว่า “แดก” เป็นภาษาอีสานที่แปลว่าอัด ยัด คลุกเคล้า
ข้าวแดกงาเป็นอาหารพื้นเมืองโบราณของไทเลย เป็นของหวานแบบบ้านๆ แต่ Classic ที่ไม่ทำขายกัน แต่ละบ้านจะทำกินกันเอง มีเฉพาะฤดูกาล คือ หน้าหนาวเท่านั้น เพราะส่วนประกอบของมันจะประกอบไปด้วย งาเจียง น้ำอ้อย และข้าวเหนียว ช่วงหน้าหนาวนี้เป็นช่วงที่ข้าวเพิ่งเริ่มออกใหม่ซึ่งข้าวใหม่นี้มีความหอมหวานอยู่ในตัว และยิ่งนำมาปรุงกับงาเจียงและน้ำอ้อยก็ยิ่งทำให้เกิดความหอมหวานยิ่งขึ้น งาเจียงจะมีเฉพาะหน้าหนาวเท่านั้นมีลักษณะเป็นเม็ดกลมคล้ายเมล็ดผักกาด
ขั้นตอนการทำข้าวแดกงานั้นเรียบง่าย รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก โดยเริ่มจากนำงาเจียงไปตำให้ละเอียด โดยไม่ต้องคั่ว เพราะจะให้กลิ่นหอมเย็น แต่ถ้าใครชอบคั่วก็ไม่ว่ากัน จากนั้นก็นำน้ำอ้อย อาจจะเป็นน้ำอ้อยกะทิก็ได้ ไปตำรวมกับงาเจียงที่ละเอียดแล้ว คลุกแคล้าให้เข้ากันจะเป็นเนื้อเดียว ชิมรสให้หอมหวานพอดี เราก็จะได้งาน้ำอ้อยที่พร้อมจะนำข้าวไปแดก (จิ้ม/คลุกเคล้า) แล้ว เวลาจะกินให้นำข้าวไปแดก (จิ้ม/คลุกเคล้า) กับงาและน้ำอ้อยที่ได้ตำละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน
โทรศัพท์ 042 812 895 หรือ
081-954-2915
สาระภัญญ์ บ้านหนองฮี มา วันนี้ มาสี่คน
คนที่หนึ่ง ชื่อสมปอง
คนที่สอง ชื่อสมศรี
คนที่สาม ชื่อสำลี
สามคนนี้..
กิจกรรมทำนาโยน ข้อดีของการทำนาโยนคือ
ประหยัดเวลาและลดขั้นตอนจากการทำนาดำ
ประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าว
ใช้ต้นทุนและแรงงานน้อยกว่านาดำ
ลดขั้นตอน ประหยัด
หนาแน่น แค่นี้ พอแล้วสำหรับการโยน
พระธาตุสัจจะ
พระธาตุนี้สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดดวงชะตาพระธาตุพนมที่เคยหักโค่นลงในอดีต จึงมีลักษณ์คล้ายคลึงกับพระธาตุพนม ซึ่งองค์ประธาตุสัจจะประกอบกลีบดอกบัว 3 ชั้น สูงประมาณ 1 เมตร ล้อมรอบองค์พระธาตุ มีลวดลายและลักษณ์คล้ายกับพระธาตุพระนม มีความสูง 33 เมตร และมีศวตฉัตร 7 ชั้นประดิษฐานไว้บนยอดสูงสุดของพระธาตุ สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2518 พระธาตุสัจจะเป็นปูชนีย์สถานอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวอำเภอท่าลี่
//////////////////////////////////////
ออกเดินจากภูเรือ สู่ อ.เชียงคาน
ดินแดนบ้านไม้เก่า วัฒนธรรมสองฝั่งโขง
เชียงคาน เมืองเก่าแก่ริมฝั่งโขงอายุกว่า ๑๐๐ ปี วัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างไทยลาวและวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ บ้านไม้ริมฝั่งโขงที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้จำนวน ๒๒๒ หลัง วัดที่รวมศิลปะจากล้านช้างและล้านนา พระพุทธรูปเก่าแก่ ภาพเขียนจิตรกรรมเก่าแก่ที่มีชื่อเสียง หัตถกรรมผ้าห่มนวมทำมือจากฝ้า
กิจกรรม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบ คนไม่เอาถ่าน
การทำผาสาดลอยเคาระห์ พิธีกรรมและความเชื่อของชาวฝั่งโขง
บ้านต้นโขง เกสเฮาส์
“ผาสาดลอยเคราะห์” เป็นพิธีกรรมโบราณที่ทำสืบทอดต่อกันมานับร้อยปีแล้ว โดยชาวเชียงคานในสมัยโบราณเชื่อว่า หากผู้ใดเห็นสิ่งไม่ดี สิ่งไม่เป็นมงคล หรือมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ประสบเคราะห์ร้ายถึงแก่ชีวิต ให้ทำการลอยผาสาด เพื่อเป็นการลอยสิ่งไม่ดีทิ้งไป จะทำให้ชีวิตดีขึ้น มีแต่สิ่งดีๆ เข้ามา
สำหรับ “ผาสาด” นั้นทำมาจากกาบกล้วย มีการทำฐานให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตกแต่งด้วยกรวยใบตอง และดอกไม้ ส่วนดอกไม้ที่ใช้ตกแต่งนั้นเป็นขี้ผึ้ง หรือเทียน โดยในสมัยก่อนการตกแต่งด้วยดอกไม้นั้น จะไม่มีดอกไม้ที่มีสีสันสวยงาม คนโบราณจะนำมะละกอมาแกะสลักเป็นดอกไม้ แล้วนำไปชุบน้ำเทียน จากนั้นนำไปชุบน้ำ สลับไปมาจนกว่าจะหลุดออกจากกัน และนำมาตกแต่ง
ผาสาดนั้นจะมี 2 ขนาดด้วยกัน คือ ขนาดเล็ก เรียกว่าผาสาดลอยเคราะห์ และขนาดใหญ่ เรียกว่าผาสาดสะเดาะเคราะห์ ซึ่งผาสาดลอยเคราะห์(ขนาดเล็ก) มักจะใช้กับการลอยเคราะห์ทั่วไป เช่นรู้สึกไม่ดี คิดว่าตัวเองจะมีเคราะห์ ก็จะลอยผาสาดโดยการใส่เส้นผม หรือใส่เล็บของตัวเองลงไป ส่วนผาสาดสะเดาะเคราะห์ จะใช้สำหรับคนที่มีเคราะห์ใหญ่ เจ็บป่วยเจียนตาย หรือชะตาขาด ก็จะมีการทำพิธีสะเดาะเคราะห์จากพราหมณ์ด้วย
ชียงคานนินยมนำไปลอยที่แม่น้ำโขงโดยมีความเชื่อว่าเป็นการสะเดาะห์เคราะห์ลงสู่แม่น้ำโขงและเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง แต่จะมีเคล็ดความเชื่อคือถ้าลอยผาสาดในแม่น้ำโขงแล้วเวลาปล่อยลอยเสร็จอย่าหันไปมอง ซึ่งจะหมายความว่าไม่อาลัยอาวรณ์กันแล้วให้สิ่งที่
เป็นเสนียดจัญไรไหลออกไปอย่าหันไปมอง
พิธีบายศรีสู่ขวัญ
มีความเชื่อที่ว่าหลังจากได้สเดาะเคราะห์เอาสิ่งไม่ดีออกจากตัวไปแล้ว ก็ต้องมีการเรียกขวัญให้กลับมาอยู่กับตัว อวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข อายุมั่นขวัญยืน เจริญก้าวหน้าประสบโชคชัย ปลอบประโลมจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคงปราศจากความหวาดกลัว
พระอาทิต์ตกริมฝั่งโขงสวยงามยิ่งนัก
ได้เวลาข้าวเย็น ที่บ้านต้นโขง
เดินลงไป อีกซอย จากบ้านต้นโขง
จับช้างมาได้แบบ กลัวๆ หมาไล่
คืนนี้เป็นคืนแรม ที่ม่ีแสงจันทร์รบกวน
ต้องรอให้พระจันทร์ตกไปก่อน แล้วค่อยลองถ่ายช้าง
สูตรถ่ายช้าง
iso 3200 f1.8 30s
ขอบคุณ
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน
โดย สำนักงานพื้นที่พิเศษเลย (อพท.5)
โทร.042 861 116-8, 081 261 4961
http://www.dasta.co.th
และ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเลย
โทร. 0 4281 2812, 0 4281 1405
หรือ 1672 เบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น