ads 1081*250

ads 1081*250

บทความที่ได้รับความนิยม

เดือนแปด งานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย



เดือนแปด งานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน  
อ.ด่านซ้าย จ.เลย 


วันที่ 6  กค 59

พิกัด 17.274427, 101.149065






เดือนแปด ประเพณีบุญหลวงเป็นประเพณีที่ได้รวมเอางานบุญฮีตเดือน 4 (บุญเผวส) ฮีตเดือน 5 (บุญสงกรานต์) ฮีตเดือน 6 (บุญบั้งไฟ) และฮีตเดือน 7 (บุญซำฮะ) มาจัดขึ้นพร้อมกันในช่วงเดือน 8 ของทุกปี ซึ่งมักจะอยู่ระหว่างปลายเดือนมิถุนายนถึงช่วงต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี เพื่อเป็นการบูชาอารักษ์หลักเมือง และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีต ซึ่งจะมีขึ้นในช่วง เดือน 8 ของทุกปี ทั้งนี้เจ้าพ่อกวน เป็นผู้กำหนดวันโดยผ่านพิธีการเข้าทรงล่วงหน้า มักจะอยู่ระหว่างปลายเดือนมิถุนายนถึงช่วงต้นเดือนกรกฎาคม โดยเริ่มต้นจัดที่วัดโพนชัยเป็นที่แรก ลำดับที่สอง วัดศรีสะอาด ลำดับที่สาม วัดโพธิ์ศรี และวัดศรีภูมิเป็นลำดับสุดท้าย

การละเล่นผีตาโขนเป็นประเพณีไทยที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย แสดงในงาน “บุญหลวง” ซึ่งเป็นการรวมเอาบุญผะเหวดและบุญบั้งไฟเป็นบุญเดียวกัน เพื่อเป็นการบูชาอารักษ์หลักเมือง และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีต และเป็นประเพณีที่ใกล้เคียงกับการบูชาบรรพบุรุษของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ในอีกที่มาหนึ่งกล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมืองบรรดา ผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” จนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” อย่างในปัจจุบัน

การจัดงานบุญเทศน์มหาชาติ งานบุญหลวง แนวปฏิบัติของคณะผู้รักษาวัฒนธรรม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย สรุปได้ดังนี้แนวปฏิบัติของคณะผู้รักษาวัฒนธรรมในประเพณีงานเดือนแปด การจัดงานบุญเทศน์มหาชาติ เป็นการละเล่นผีตาโขนนั้น พอรู้วันที่แล้ว ก่อนหน้า 3 – 4 วัน เจ้าพ่อกวน พ่อแสน นางแต่ง เจ้าแม่นางเทียมนำพี่น้องเข้าวัดเตรียมของต่าง ๆ ในวัดโพนชัย โดยการนำของเจ้าพ่อกวน ฝ่ายเจ้าพ่อกวนนำเอาไม้ไผ่มาทำจำลองเป็นองค์ประกอบของบุญหลวง บุญเทศน์มหาชาติ โดยมีดาบ มีหอก มีปืน มีดอกบัว มีดอกปีบ อย่างละร้อยละพัน ทางฝ่ายหญิงเจ้าแม่นางเทียมจัดทำทงพันชั้น จัดเตรียมตกแต่งใส่อารามหลวงพอครบ 3 มื้อ การตกต่างท้ายที่สุด มีจุดเด่น คือ ต้นกล้วย ต้นอ้อย เอามาปักไว้ 4 ทิศ ภายในอารมนี้แล้วทำห้างอุปคุตไว้ 4 มุม พอมื้อเช้าเป็นมื้อโฮม หรือวันเปิดงาน ประมาณตี 4 เศษ ๆ เจ้าพ่อกวนมอบให้คณะพ่อแสนไปวัดโพนชัยไปบวช พราหมณ์ ชีพราหมณ์ ไปรับศีลแปด แล้วแห่จากวัดโพนชัยไปแม่น้ำหมันบริเวณตรงจุดที่บรรจบกันระหว่างแม่น้ำอุ่นกับแม่น้ำศอก บรรจบกัน คือ บริเวณปากน้ำศอก (อยู่บริเวณบ้านเดิ่นกับบ้านเหนือ) แล้วเอาพระครุฑขึ้นมา โดยผู้หมาพระครุฑ คือ พ่อแสนเมืองจันทร์ งม 3 ครั้ง จึงได้พระครุฑ (โดยใช้หินจำลองอุปโลกน์ว่าพระอุปคุต) ขึ้นมาริมฝั่งแล้วเชิญเจ้าแสนเมืองตามมาด้วย พ่อแสน และชาวบ้านแห่มาที่วัดโพนชัย มาเชิญพระอุปคุตขึ้น 4 ทิศ เป็นการจัดงาน ดังนี้ ทิศแรก คือทิศตะวันออก ทิศที่ 2 ทิศเหนือ ทิศที่ 3 ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศที่ 4 ทิศใต้ แล้วชาวบ้านได้แห่รอบวัดโพนชัย 3 รอบ พอเสร็จแล้วชาวบ้านมารวมกันบ้านเจ้าพ่อกวนที่เรียกว่าเฮือนใหญ่ มีการแต่งขันขึ้นครอบเจ้านาย แล้วเอาเสื้อผ้าเครื่องทรงมาเล่นผีตาโขน เล่นบุญหลวงที่มีผ้าสีดำ สีแดง แขวนอยู่บ้านเจ้าพ่อกวน ให้เจ้าพ่อกวนนำลงมาแจกจ่ายพ่อแสน ต่อมาชาวบ้าน พ่อแสนจะสู่ขวัญให้เจ้าพ่อกวน เจ้าแม่นางเทียม แล้วเจ้าแม่นางเทียม และชาวบ้านพร้อมกันผูกแขนให้เจ้าพ่อกวนเสร็จแล้ว รับประทานอาหาร กินข้าว กินน้ำ ในเวลา 9.00 นาฬิกา เจ้าพ่อนำหน้าเจ้าแม่นางเทียม แห่ไปวัดโพนชัย พาพี่น้องเล่นบุญ หากจำแนก ดังนี้


กิจกรรมงานบุญหลวง

วันแรก อันเชิญพระอุปคุต ตั้งแต่เช้ามืดเวลาประมาณ 03.00 – 05.00 นาฬิกา โดยคณะบริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ที่เตรียมเข้าพิธี ถือเดินขบวนจากวัดโพนชัย ไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่ออัญเชิญพระอุปคุตจากแม่น้ำหมันกลับประดิษฐานอยู่ที่หออุปคุต วัดโพนชัย เพื่อช่วยปราบมาร และป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ
วันที่สอง พิธีบายศรีให้แก่เจ้าพ่อกวน และเจ้าแม่นางเทียม ในตอนเช้าเวลาประมาณ 14.00 – 15.00 น. จะเริ่มพิธีแห่อัญเชิญพระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมืองปิดท้ายด้วยขบวนแห่บั้งไฟ ช่วงระหว่างเวลานั้นบรรดาผีตาโขนน้อย ผีตาโขนใหญ่จะเข้าร่วมขบวนแห่พร้อมด้วย ก่อนตะวันตกดินบรรดาผู้เล่นผีตาโขนน้อย ผีตาโขนใหญ่ต้องถอดหน้ากาก ถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนทิ้งลงแม่น้ำหมัน เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ของตน
วันที่สาม เป็นการฟังเทศน์มหาชาติ ชาวบ้านจะมานั่งฟังธรรมภายในอุโบสถวันโพนชัยตั้งแต่เช้ามืด เพื่อเป็นการสร้างกุศล เพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิตเป็นอันเสร็จพิธี


กิจกรรมการละเล่นผีตาโขน ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงลำดับขั้นตอนการดำเนินงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน 3 วัน 16 ขั้นตอน


กิจกรรมงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน
















วันที่ 1   5 กิจกรรม
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มพิธีการบวชพราหมณ์
ขั้นตอนที่ 2 พิธีการขบวนแห่จากวัดโพนชัย
ขั้นตอนที่ 3 พิธีในการงมพระมหาอุปคุตจากแม่น้ำหมัน
ขั้นตอนที่ 4 พิธีเบิกพระอุปคุต
ขั้นตอนที่ 5 พิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าพ่อกวน และเจ้าแม่นางเทียม





วันที่ 2   5 กิจกรรม
ขั้นตอนที่ 6 พิธีสู่ขวัญพระเวส อัญเชิญพระเวสเข้าเมือง
ขั้นตอนที่ 7 ขบวนแห่พระเวสเข้าเมือง
ขั้นตอนที่ 8 เจ้าพ่อกวน และคณะนำขบวนแห่ไปที่วัดโพนชัย
ขั้นตอนที่ 9 เจ้าพ่อกวนนำคณะจุดบั้งไฟขอฝน
ขั้นตอนที่ 10 ทิ้งหน้ากากผีตาโขนลงแม่น้ำหมัน


วันที่ 3   6 กิจกรรม
ขั้นตอนที่ 11 พิธีสูตรมาลัยหมื่นมาลัยแสน เป็นการฟังเทศน์มหาชาติ
ขั้นตอนที่ 12 พิธีการสวดซำฮะ สะเดาะเคราะห์รับโชค
ขั้นตอนที่ 13 พิธีการสูตรกระทงเพื่อการสะเดาะเคราะห์และสืบชะตาบ้านเมือง
ขั้นตอนที่ 14 การ “จ้ำเนื้อจ้ำคิง” เพื่อการสะเดาะเคราะห์รับโชค
ขั้นตอนที่ 15 นำเครื่องสะเดาะเคราะห์ทิ้งลงในแม่น้ำหมัน
ขั้นตอนที่ 16 พิธีคารวะองค์พระเจ้าใหญ่ โดยเจ้าพ่อกวนและคณะเป็นอันเสร็จพิธี












ไม่มีความคิดเห็น:

PP Tour

ร้านอาหาร

[ร้านอาหาร][bsummary]

www.grandbookinggroup.com

โรงแรม

[โรงแรม][bsummary]

หอพักสตรีสุดารัตน์

อื่น

[อื่น][bleft]

วช

[วช][twocolumns]

หอพักสตรีสุดารัตน์

ภาคกลาง

[ภาคอีสาน][twocolumns]