ads 1081*250

ads 1081*250

บทความที่ได้รับความนิยม

พลังของศรัทธา ม้าทรงศาลเจ้าพ่อกวนอู “อิ่มบุญ อิ่มเจ @ พังงา”





วันที่ 18 ตค 2558
ศาลเจ้าพ่อกวนอู (ซิ่นใช่ตึ๋ง) หรือ อ๊ามใต้ ที่ตลาดเก่า อ. ตะกั่วป่า จ. พังงา  

 พิกัด ศาลเจ้ากวนอู 
8 49.7853N  98 21.9137E










จังหวัดพังงา จัดประเพณีถือศีลกินเจ(กินผัก) ประจำปี 2558 “อิ่มบุญ อิ่มเจ @ พังงา”
การจัดงานประเพณีถือศีลกินเจ(กินผัก) จังหวัดพังงา ประจำปี 2558 นี้ ระหว่างวันที่ 13 – 21 ตุลาคม 2558 โดยอบจ.พังงา ร่วมกับ เทศบาลเมืองพังงา เทศบาลตำบลท้ายเหมือง เทศบาลตำบลโคกกลอย อบจ.โคกกลอย ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา ภาคเอกชน และศาลเจ้าในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดพังงา เพื่อสืบทอดประเพณีของท้องถิ่นที่ปฏิบัติกันมาเป็นเวลานาน หล่อหลอมจิตใจของคนให้ประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดีและส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมที่มีมายาวนานให้คงอยู่และรู้จักแพร่หลาย รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงด้านวัฒนธรรมประเพณี ให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ และสร้างความรู้รักสามัคคีของประชาชนในชุมชน




ขอบคุณ  
ททท ภูมิภาคภาคใต้





เมือคืนนอนที่ The Sands Khao Lak by Katathani Resorts  



เทศกาลกินเจ  หรือ กินแจ หรือบางแห่งเรียกว่า ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋ารวม 9 วัน กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี รวม 9 วัน 9 คืน ตรงกับเดือน 11 หรือเดือนตุลาคมของไทย สำหรับในปี พ.ศ.2558 นี้ เริ่มวันที่ 13-21 ตุลาคม 2558

งานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดพังงา ปี2558  13 ตุลาคม 2558 - 21 ตุลาคม 2558 ณ ศาลเจ้าต่างๆในเมืองพังงา ระหว่างถือศีลกินผักชาวบ้านจะแต่งกายชุดขาวไปรับ อาหารจากศาลเจ้า มีพิธีกรรมตามความเชื่อ เช่น พิธีลุยไฟ พิธีบวงสรวงดาวประจำวันทั้งเจ็ด พิธีสะเดาะเคราะห์ฯลฯ และมีพิธีแห่ เจ้ารอบตัวเมืองไปตามถนนต่างๆ เพื่ออวยพรเสริมสิริมงคลให้ชาวบ้านอยู เย็นเป็นสุขตลอดไป


ประเพณีถือศีลกินเจหรือประเพณีกินผัก  มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน     เป็นประเพณีที่หล่อหลอมจิตใจของคน  ให้ประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดีงามของสังคม  ในช่วงเทศกาลกินเจหรือกินผัก 9 วัน 9 คืน  ผู้ที่ถือปฏิบัติเคร่งครัดจะต้องกินอาหารเฉพาะที่คนกินเจด้วยกันเป็นผู้ปรุงเท่านั้น  รวมถึงภาชนะสำหรับปรุงอาหารจะแยกไว้โดยเฉพาะ   นอกจากนี้ต้องจุดตะเกียงไว้  9 ดวง  ตลอดช่วงเทศกาลกินเจ 9 วันโดยไม่ปล่อยให้ดับเพื่อเป็นการพุทธบูชาและรำลึกถึงบุญคุณของพ่อแม่ญาติพี่น้อง ตลอดจนผู้ที่มีบุญคุณต่อแผ่นดินเกิด

















ม้าทรง  ร่างทรงเทพเจ้า
  ชีวิตลิขิตไม่ได้  จึงต้องรับหน้าที่ม้าทรงจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ม้าทรงในที่นี้คือ ร่างทรงของเทพเจ้าจีนซึ่งจะลงมาประทับร่างม้าทรงทุกๆเทศกาลกินเจหรือในโอกาสต่างๆตามแต่เทพเจ้าที่ประจำร่างม้าทรงนั้น 


ม้าทรง
     เชื่อกันว่าการเข้าทรงของพระจีนเป็นการแสดงอิทธิฤทธิ์ของพระจีนและสามารถปัด เป่าสิ่งชั่วร้าย บันดาลความสุขให้แก่ผู้เคารพเลื่อมใสพระจีน และเชื่อกันว่าผู้ที่เป็นม้าทรง (คนทรง) ของพระจีนได้ จะต้องเป็นบุคคลที่มีลักษณะดังนี้ 


     เป็นผู้มีบุญที่เทพเจ้าเลือกแล้ว แม้จะอยู่ไกลเพียงใด แต่อาการของคนจะเป็นม้าทรงจะบอกเอง คือ จะมีอาการสั่น ตบโต๊ะ หัวเราะเสียงดังลั่นราวกับนักรบจีนสมัยโบราณ หรืออาจจะมีอาการสั่นศีรษะเบาๆกรณีที่เป็นเทพสตรี 


     คนที่ชะตาขาดแล้วเทพเจ้าช่วยเหลือต่อชีวิตให้ เป็นคนชะตาขาดกำลังจะดับ แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องตาย พระจีนหรือเจ้าจะเข้าประทับทรง เป็นการช่วยเหลือต่ออายุให้ม้าทรง ดังนั้นเมื่อถึงเทศกาลกินเจก็ต้องเป็นม้าทรง 

     คนที่เคยบนบานสานกล่าวไว้ว่าจะยอมเป็นม้าทรง หรือ โดยความสมัครใจของม้าทรงที่จะเสียสละอุทิศตนรับใช้พระจีน และพระจีนยอมรับว่าเป็นบุคคลที่เหมาะสมให้เป็นม้าทรงได้ 

     บางคนอยู่ดีๆก็อาจถูก “พระจับ” เช่นเดินๆอยู่ในงานกินเจก็มีอาการเหมือนเจ้าประทับทรงก็ต้องยอมเป็นม้าทรง 

     คนที่มีองค์เทพคุ้มครอง บางครั้งไม่จำเป็นต้องเป็นม้าทรงแต่ต้องบูชาเทพองค์นั้น แต่บางครั้งก็ต้องให้เทพลงประทับทรง 


     ชีวิตของคนที่เป็นม้าทรงจะเกี่ยวข้องกับศาลเจ้าไปโดยปริยาย ม้าทรงแต่ละคนจะต้องมีพี่เลี้ยง คือคนดูแลในเรื่องต่างๆ เช่น การเปลี่ยนเสื้อผ้า การนำไปทำพิธีต่างๆ ถืออาวุธหรือสิ่งของต่างๆ และม้าทรงจะต้องถือศีลกินเจ ไปทำความสะอาดศาลเจ้า เวลาศาลเจ้ามีวันเกิดเทพเจ้าต่างๆก็ต้องเข้าร่วมงาน และที่สำคัญม้าทรงมีหน้าที่เป็นตัวแทนของเทพเจ้าในการช่วยเหลือมนุษย์ เช่น คนป่วย ,คนมีเคราะห์ , คนที่มีปัญหาทางจิตใจ

















ในขบวนจะมีเกี้ยวพระสองเกี้ยวแรก มีกิมซิ้นพระ ประทับครับ สำหรับให้คนจุดปะทัด ให้เป็นสิริมงคล
และเกี้ยวสองไม่จุดปะทัด เพราะสำหรับดวงจิตองค์กิ๋วอ๋องปะทับ


ขบวนแห่พระของศาลเจ้าพ่อกวนอู หรือโรงพระตลาดใต้ ได้มีม้าทรงทั้งชาย หญิง ออกแห่รอบเขตเทศบาลตะกั่วป่า ในงานประเพณีถือศีลกินผัก ซึ่งยังเป็นไปด้วยความคึกคัก และเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดยเป็นการแห่พระรอบเมืองที่มีม้าทรงโชว์อิทธิฤทธิ์นำเหล็กแหลม และของมีคมทิ่มแทงร่างกายเพื่อเป็นการรับเคราะห์แทนประชาชน ในขบวนแห่พระตลอดเส้นทางมีการตั้งโต๊ะรับขบวนพระ และจุดประทัดนับแสนนัดเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยมีประชาชน และนักท่องเที่ยวทั้งคนไทย และชาวต่างชาติเข้าร่วมพิธีรับขบวนแห่พระ 




  ศาลเจ้าพ่อกวนอู (ซิ่นใช่ตึ๋ง) จะถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ มากมาย และที่น่าสนใจมากที่สุดคือพิธีแห่พระ ซึ่งจะแตกต่างจากของภูเก็ต ตรงที่จะแห่เพียง 2 วันเท่านั้น คือวันขึ้น 6 ค่ำ และขึ้น 9 ค่ำ (วันส่งพระ) เดือน 9 ตามปฎิทินจีน แต่ความหมายของการแห่พระยังคงไว้ซึ่งนัยยะเดียวกัน คือเป็นการเยี่ยมราษฎรของพระมหากษัตริย์ และองค์เทพเจ้าทั้งหลาย เพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดีให้พ้นไปจากชุมชน


  ขบวนแห่จะประกอบด้วย ขบวนม้าทรงหญิง ชาย ซึ่งที่นี่จะไม่เน้นการเสียบแทงอาวุธ หรือของมีคมขนาดใหญ่ ต่อมาเป็นขบวน เสลี่ยง ขององค์กิ่วอ๋อง โดยจะมีชายหนุ่ม ทั้งหนุ่มน้อย หนุ่มใหญ่อย่างน้อย 4 คนเข้ามาขันอาสารับหน้าที่แบก  และจะเคลื่อนตัวไป  ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป 


แต่ละบ้านก็ไม่ได้มีประทัดเพียงแค่หลักร้อย แต่มีถึงหลักพัน บางบ้านมีมากถึงหลักหมื่น แค่จากจุดเริ่มต้นตรงหน้าศาลเจ้าก็มีการจุดประทัดเกือบครึ่งแสนดอกเลยทีเดียว เพราะชาวตะกั่วป่าเชื่อว่า การจุดประทัดจำนวนมากให้กับเก่วขององค์กิ่วอ๋อง หรือองค์หยกอ๋อง เป็นเหมือนการเชิญให้ทั้ง 2 องค์เยี่ยมเยือนบ้านของตัวเองนานขึ้น ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจที่จะเห็นกองประทัดแดงสูงเกือบเมตรที่บ้านของชาวตะกั่วป่าในช่วงเทศกาล 



ไม่มีความคิดเห็น:

PP Tour

ร้านอาหาร

[ร้านอาหาร][bsummary]

www.grandbookinggroup.com

โรงแรม

[โรงแรม][bsummary]

หอพักสตรีสุดารัตน์

อื่น

[อื่น][bleft]

วช

[วช][twocolumns]

หอพักสตรีสุดารัตน์

ภาคกลาง

[ภาคอีสาน][twocolumns]