สงกรานต์ในแบบวิถีเดิมแท้ “ประเพณีสงกรานต์วัดไชยศรี” พิธีเสียเคราะห์ ที่บ้านสาวะถี ขอนแก่น
Labels:
ภาคอีสาน
สงกรานต์ในแบบวิถีเดิมแท้ “ประเพณีสงกรานต์วัดไชยศรี” พิธีเสียเคราะห์ ที่บ้านสาวะถี ขอนแก่น
พิกัด 16 30.5502N 102 41.8108E
การเดินทาง
ไปตามถนนมะลิวัลย์สายขอนแก่น-ชุมแพ ถึงกิโลเมตรที่ 14 แล้วเลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหมู่บ้านสาวะถี ผ่านบ้านม่วงรวมระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นทางลูกรังประมาณครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าจะไปโดยทางลาดยางตลอดต้องอ้อมเล็กน้อยผ่านบ้านม่วง บ้านโคกล่าม บ้านหนองตาไก้ บ้านม่วงโป้ บ้านโนนกู่และเข้าสู่บ้านสาวะถี
ในการสะเดาะเคราะห์ ชาวบ้านจะจัดเตรียมเครื่องบูชาเทวดา ประกอบด้วยกระทง 9 ห้องที่ทำมาจากกาบกล้วย ภายในประกอบด้วยมีต้นว่า ข้าวดำ ข้าวแดง แกงส้ม แกงหวาน ข้าวขาว ทุงซ่อ ทุงไชย ทุงดำ ทุงแดง ทุงเหลียง ทุงขาว เสดตะสัด พัด จำมอน รูปแร้ง รูปกา รูปหมู รูปหมา รูปควาย รูปคน กล้วย อ้อย หมาก พลู บุหรี่ เหล้า ยา ปาปิ้ง ปาจี่ เข้าเปียก เข้าสาน ข้าวตอก ดอกไม้ ดังตอนหนึ่งในบทสูตเสียเคราะห์
ยุพา ปานรอด ผอ.กองตลาด.ททท.อีสาน
นพรัตน์ กอกหวาน ททท ขอนแก่น
แต๋ว ยุพา ปานรอด ผอ.กองตลาด.ททท.อีสาน
เสียเคราะห์ แบบอีสาน ในวันสงกรานต์ ที่ บ้านสาวะถีตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จ.ขอนแก่น
การสะเดาะเคราะห์ หรือเสียเคราะห์ในภาษาอีสาน เป็นพิธีกรรมโบราณที่ชาวบ้านยังอนุรักษ์ไว้ ชาวบ้านจะนิยมทำพิธีนี้ในช่วงปีใหม่ หรือสงกรานต์ เชื่อกันว่าเป็นการเอาสิ่งไม่ดีออกจากครอบครัว โดยชาวบ้านในชุมชนสาวะถีจะนิยมประกอบพิธีในช่วงวันสงกรานต์หรือปีใหม่ไทย ก่อนที่จะทำพิธีเอาพระพุทธรูปในวัดลงสรงน้ำชาวบ้านจะนิมนต์พระในการทำพิธีเพื่อเป็นศิริมงคล
พี่หมอ
ะรา
เจ้าอาวาสนำพระภิกษุและสามเณรเข้าไปในสิมและเริ่มทำพิธี โดยเริ่มจากบทอาราธนาศีลแล้วจึงเข้าสู่บทสวดเสียเคราะห์เป็นภาษาอีสานโบราณ พิธีเสียเคราะห์ ที่มีเพียงปีละครั้ง
ในการสะเดาะเคราะห์ ชาวบ้านจะจัดเตรียมเครื่องบูชาเทวดา ประกอบด้วยกระทง 9 ห้องที่ทำมาจากกาบกล้วย ภายในประกอบด้วยมีต้นว่า ข้าวดำ ข้าวแดง แกงส้ม แกงหวาน ข้าวขาว ทุงซ่อ ทุงไชย ทุงดำ ทุงแดง ทุงเหลียง ทุงขาว เสดตะสัด พัด จำมอน รูปแร้ง รูปกา รูปหมู รูปหมา รูปควาย รูปคน กล้วย อ้อย หมาก พลู บุหรี่ เหล้า ยา ปาปิ้ง ปาจี่ เข้าเปียก เข้าสาน ข้าวตอก ดอกไม้ ดังตอนหนึ่งในบทสูตเสียเคราะห์
” ฝูงขัาทังหลายพ้อมกันขนขวายหานำมายังเคี่ยงกิ๊ยาบูซาพระเคาะอันนี้ ถวยแก่เทบพะดาเจ้าทังหลาย มีต้นว่า เข้าดำ เข้าแดง แกงส้ม แกงหวาน เข้าขาว ทุงซ่อ ทุงไชย ทุงดำ ทุงแดง ทุงเหลียง ทุงขาว เสดตะสัด พัด จำมอน ฮูบแฮ้ง ฮูปกา ฮูบหมู ฮูบหมา ฮูบหมี มีซู่เหยี่ยง เคี่ยงกินมีซู่แนว คือว่า ถ้วยอ้อย หมาก พู เหล้า ยา ปาปิ้ง ปาจี่ เข้าเปียก เข้าสาน ซู่แนวบ่ไฮ้ ไว้ถวยแก่แทบพะดาเจ้าทังหลาย จงมาฮับเอาเคาะอันนี้จาก (เอ่ยชื่อผู้บุ๊ดซา) เอาเคาะนี้หนีไปเมียงบน ขนเคาะนี้หนีไปเมียงฟ้า ตั้งแต่นี้เมียหน้า เคาะอย่าเห้อเห็น เข็นอย่าเห้อฮู้ สิบปีอย่าได้มาเต้า เก้าปีอย่าได้มาพาน อมสิดทิมะหาสิดทิสะหวาหม ”
ขั้นตอนสุดท้ายของพิธีกรรมคือการนำเครื่องสังเวยไปทิ้งไว้ในที่ที่ไม่มีเจ้าของ เช่น ทางสามแพร่งหรือป่าช้า และเมื่อทิ้งแล้วห้ามหันกลับไปมองอีก ให้เดินหน้ากลับวัดเพื่อทำพิธีสำคัญอีกอย่างต่อโดยเฉพาะกับผู้หญิงที่ไม่มีโอกาสขึ้นสิมถือว่าเป็นโอกาสพิเศษ ทุกๆ ปี
พระสงฆ์จะนำพระพุทธรูปในสิมลงมาให้ชาวบ้านได้สรงน้ำพระตามความเชื่อดั้งเดิมที่ว่า การเล่นน้ำสงกรานต์จะทำได้นับแต่เสร็จพิธีสรงน้ำพระเป็นต้นไป
พระพุทธรูปไม้ "พระศรี ๕๐ ปี มข."ที่มีขนาดหน้าตักกว้างที่สุดในภาคอีสาน
พระพุทธรูปไม้สักทองทั้งองค์ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒.๔๐ ซม. สูง ๓.๒๐ ซม. นับเป็นพระพุทธรูปไม้องค์ใหญ่ที่สุดที่สะท้อนอัตลักษณ์ของอีสานตามต้นแบบของหลวงพ่อพระใสที่สร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง มีชื่อว่า “หลวงพ่อพระศรี ๕๐ ปี มข.” หรือ “พระศรีปัญญาสภูริฐาน” หมายถึง หลวงพ่อพระศรีที่ประดิษฐานไว้ ณ แหล่งภูมิปัญญาดังแผ่นดิน ในวาระ ๕๐ ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ททท ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ขอบคุณ
งานสื่อมวลชนสัมพันธ์ในประเทศ กองประชาสัมพันธ์ในประเทศ ชั้น 15
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)โทรศัพท์ 0 2250 5500 ต่อ 4525- 9 โทรสาร 0 2250 5681 - 3
อีเมลล์ : prdiv7@tat.or.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น