“งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ประจำปี ๒๕๕๘”
วันศุกร์ที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๘
ณ ที่ว่าการอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
วันศุกร์ที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๘
ณ ที่ว่าการอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ประเพณีสงกรานต์พระประแดง หรือเดิมเรียกว่า “สงกรานต์ปากลัด”
สงกรานต์ปลอดเหล้า
นายประเสริฐ วชิรเขื่อนขันธ์ นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพระประแดง
กล่าวรายงาน
วันที่ 17 เม.ย.58 - งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ประจำปี 2558 ระหว่างวันที่ 17-19 เมษายน บริเวณที่ว่าการอำเภอพระประแดงอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เริ่มขึ้นแล้ว
นางสงกรานต์ปีที่ 2557
ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ชมการประกวดนางสงกรานต์พระประแดงและหนุ่มลอยชาย ณ เวทีประกวดหน้าที่ว่าการอำเภอพระประแดง และ วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน นี้ เชิญชมพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ขบวนแห่นางสงกรานต์ และขบวนรถบุปผาชาติ พร้อมชมการละเล่นพื้นเมือง (สะบ้ารามัญ) ที่อุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า
ผลการประกวด
น.ส.วิสุตาภัทร อุบลรัศมี สาววัย 19 ปี ผู้ประกวดหมายเลขที่ 9 ชาวกรุงเทพมหานคร คว้าตำแหน่งนางสงกรานต์พระประแดง ประจำปี 2558 ไปครองพร้อมถ้วยรางวัลเกียรติยศและเงินสด 5 หมื่นบาท
นายภานุพงศ์ จิรัฐติพันธ์ ผู้ประกวดหมายเลขที่ 46 อายุ 22 ปี ชาวกรุงเทพมหานคร คว้าตำแหน่งหนุ่มลอยชาย ไปครอง
นายพินิจ หาญพาณิชย์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
หนุ่มลอยชาย
*งานใหญ่ที่สุด “การประกวดนางสงกรานต์และหนุ่มลอยชาย”
เมือคืนมีนางสงกรานต์ 89คน และหนุ่มลอยชาย 80คน
นางปานจิตร สันทัดกลการ
ผู้อำนวยการสำนักงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกรุงเทพมหานคร
ประกวดนางสงการนต์
สงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
วันที่ : ๑๗ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๘
สถานที่จัดงาน : บริเวณที่ว่าการอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ประเพณีสงกรานต์พระประแดง หรือเดิมเรียกว่า “สงกรานต์ปากลัด” เป็นรูปแบบสงกรานต์ที่คงรักษาวัฒนธรรมของชาวรามัญ – ไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณเอกลักษณ์ของสงกรานต์พระประแดงโดยเฉพาะในวันท้ายของสงกรานต์ (ถัดจากวันที่ ๑๓เมษายนอีกหนึ่งอาทิตย์)
ทุกหมู่บ้านจะรวมใจกันจัดขบวนแห่ที่มีความยิ่งใหญ่และความสวยงามตระการตาของขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนรถบุปผาชาติขบวนสาวรามัญ–หนุ่มลอยชาย ที่ยังคงรักษาประเพณีเก่าๆไว้อย่างมั่นคงตลอดถึงเอกลักษณ์การแต่งกายด้วยชุดไทยรามัญ และชุดลอยชาย เพื่อแห่นก – แห่ปลาไปทำพิธีปล่อยนก – ปล่อยปลา ณ พระอารามหลวงวัดโปรดเกศเชษฐาราม ซึ่งถือเป็นการสะเดาะเคราะห์ทำให้อายุยืน ยาว เมื่อเสร็จสิ้นพิธีแล้วระหว่างเดินทางกลับบ้านก็จะมีหนุ่มในหมู่บ้านต่าง ๆออกมาเล่นสาดน้ำกับสาว ๆ ด้วยกิริยาท่าทีที่สุภาพรดแต่พองาม ซึ่งท่านผู้สนใจควรจะได้ไปชมด้วยตนเองซึ่งชาวพระประแดงได้รักษาประเพณีไว้โดยเคร่งครัดตลอดมา จนถึงทุกวันนี้
ทุกหมู่บ้านจะรวมใจกันจัดขบวนแห่ที่มีความยิ่งใหญ่และความสวยงามตระการตาของขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนรถบุปผาชาติขบวนสาวรามัญ–หนุ่มลอยชาย ที่ยังคงรักษาประเพณีเก่าๆไว้อย่างมั่นคงตลอดถึงเอกลักษณ์การแต่งกายด้วยชุดไทยรามัญ และชุดลอยชาย เพื่อแห่นก – แห่ปลาไปทำพิธีปล่อยนก – ปล่อยปลา ณ พระอารามหลวงวัดโปรดเกศเชษฐาราม ซึ่งถือเป็นการสะเดาะเคราะห์ทำให้อายุยืน ยาว เมื่อเสร็จสิ้นพิธีแล้วระหว่างเดินทางกลับบ้านก็จะมีหนุ่มในหมู่บ้านต่าง ๆออกมาเล่นสาดน้ำกับสาว ๆ ด้วยกิริยาท่าทีที่สุภาพรดแต่พองาม ซึ่งท่านผู้สนใจควรจะได้ไปชมด้วยตนเองซึ่งชาวพระประแดงได้รักษาประเพณีไว้โดยเคร่งครัดตลอดมา จนถึงทุกวันนี้
กิจกรรมหลัก
- ชมการประกวดนางสงกรานต์พระประแดงและหนุ่มลอยชาย
- ขบวนแห่นก
- แห่ปลา
- ชมขบวนแห่นางสงกรานต์และขบวนรถบุปผชาติ
- การละเล่นพื้นบ้านตามวัฒนธรรมชาวรามัญแต่ดั้งเดิม (การละเล่นสะบ้า)
- ประเพณีการกวนกาละแม (กวันฮะกอ)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เทศบาลเมืองพระประแดง โทร. ๐ ๒๔๖๓ ๔๘๔๑
ททท. สำนักงาน. กรุงเทพมหานคร โทร. ๐ ๒๒๗๖ ๒๗๒๐ – ๒๑
นายพินิจ หาญพาณิชย์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ประธานในพิธีมอบของที่ระลึก แก่ผู้สนับสนุนการจัดงานฯ
นางปานจิตร สันทัดกลการ ผู้อำนวยการสำนักงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกรุงเทพมหานคร
ขอบคุณ
ททท.สำนักงานกรุงเทพฯ
พื้นที่รับผิดชอบ: กรุงเทพมหานคร,ปทุมธานี,นนทบุรี,สมุทรปราการ,ฉะเชิงเทรา
ที่อยู่ : อาคาร D2 ชั้น 8 โครงการปรีชา คอมเพลกซ์ เลขที่ 48/11 ถ.รัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์. 0 2276 2720
โทรสาร. 0 2276 2722
อีเมล : tatbangkok@tat.or.th
เว็บไซต์: http://www.tourismthailand.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น