ads 1081*250

ads 1081*250

บทความที่ได้รับความนิยม

พิธีบวงสรวงแม่โพสพบุญเบิกฟ้า มหาสารคาม มนต์เสน่ห์แห่งสะดืออีสาน




พิธีบวงสรวงแม่โพสพบุญเบิกฟ้า  มหาสารคาม มนต์เสน่ห์แห่งสะดืออีสาน
ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ฉลอง 150ปี มหาสารคาม 
วันที่ 22 มกราคม 2558
ชุมชนบ้านหมี่ ตำบลเขวา อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม









ขอบคุณ
สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคาม 

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1600 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0 2250 5500 โทรสาร 0 2250 5583 E-mail : nemdiv@tat.or.th

งานสื่อมวลชนสัมพันธ์ในประเทศ  กองประชาสัมพันธ์ในประเทศ  ชั้น 15 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
โทรศัพท์ 0 2250 5500 ต่อ 4525- 9 โทรสาร 0 2250 5681 - 3
อีเมลล์ : prdiv7@tat.or.th




นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามเป็นประธานในพิธี
งานพิธีกรรมบวงสรวงแม่โพสพงานบุญเบิกฟ้าและกาชาด ณ บ้านหมี่ ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม 
เปิดตำนานบุญเบิกฟ้างานกาชาดฉลอง 150 ปี 



เปิดตำนานบุญเบิกฟ้างานกาชาดฉลอง 150 ปี 

    วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ชาวอีสานจะนำปุ๋ยคอกหว่านลงในแปลงนา บูชาพระแม่โพสพ เพื่อเตรียมดินสำหรับทำนาฤดูกาลต่อไป ได้ริเริ่มจัดเป็นงานบุญประเพณีประจำปีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 และในปี พ.ศ.2558 กำหนดจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ใช้ชื่อว่า “งานบุญเบิกฟ้าและกาชาด ฉลอง 150 ปี มหาสารคาม” ระหว่างวันที่ 22 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ 2558 


จังหวัดมหาสารคามซึ่งได้ขึ้นชื่อว่า พุทธมณฑลอิสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร หรือเมืองตักสิลาเป็น 1 ใน 19 จังหวัดของภาคะวันออกเฉียงเหนือที่ยังยังถือปฏิบัติขนบธรรมเนียมประเพณีตามฮีตสิบสองครองสิบสี่ เช่นเดิม ดังนั้นจังหวัดหาสารคามจึงได้จัดงานบุญเบิกฟ้าและงานกาชาดโดยแต่ละปีจะได้มีการจัดสถานที่เพื่อแสดงนิทรรศการ ผลงาน และจำหน่ายสินค้าของหน่วยงาน-และชุมชน ราชการและฝ่ายเอกชน 
 



นอกจากนี้ยังมีการบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เบิกฟ้าหรือฟ้าไขประตูน้ำฝน เมื่อถึงเดือน 3 เป็นการเริ่มเข้าฤดูใหม่ของการเกษตร ชาวนาเริ่ม ถางไร่สวน นา ชาวบ้านจะสนใจในเรื่องเกณฑ์ปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี และเชื่อว่าในแต่ละปีจะมีฟ้าร้องเป็นปฐมฤกษ์ในเทศกาลปีใหม่ หรือเป็นวันเทวดาเปิดประตูน้ำฝนและความเป็นอยู่ของประชาชนในปีนั้น 


เช่น ฟ้าร้องทิศบูรพา ถือว่าเทวดาไขประตูเหล็กสำหรับเปิดน้ำฝนในปีนั้นน้ำฝนจะตกมากในต้นปี ส่วนปลายปีฝนจะมีปริมาณน้อย (ฝนบ่ลากหล่า) ตำรานี้เรียกว่าฟ้าไขประตูน้ำฝนจารึกไว้ในหนังสือก้อม (ใบลาน) ต่อมามีผู้เรียกชื่อใหม่ว่า ตำนานเบิกฟ้า ดังข้อความจากหนังสือก้อมฉบับค้นพบที่วัดบ้านหนองหล่ม อ.เมือง และวัดบ้านดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม มีความว่า สิทธิการจักกล่าว ฤดู ปี เดือน น้ำฝน และฟ้าดังเดือนสาม ฟ้าดังเบื้องบัวระพา เทวดาไขประตูเหล็ก ปีนั้นน้ำฝนหลาย หล่าปีบ่หลาย ถ้าฟ้าร้องทิศอาคเนย์ ถือว่าเทวดาไขประตูลม เปิดน้ำฝนปีนั้นฝนแล้งตอนต้นปี หล่าปีฝนดี ข้าวน้ำดี คนมีความสุข



แนวทางจัดงานเพื่อสืบสานประเพณีบุญเบิกฟ้า ปี 2558 ว่า จะมีการจัดอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่จังหวัดมหาสารคาม ครบรอบ 150 ปี โดยใช้ชื่องานว่า “งานบุญเบิกฟ้าและกาชาด ฉลอง 150 ปี มหาสารคาม” กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 22 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ 2558 ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม 






สำหรับในปีนี้ จะไม่มีการเก็บค่าผ่านประตู ส่วนภายในงานปลอดการพนันและแอลกอฮอล์ โดยกิจกรรมก่อนการจัดงานจะมีพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาลหลักเมืองจังหวัดมหาสารคาม ในวันที่ 21 มกราคม 2558 เวลา 08.00 น. ที่ ศาลหลักเมืองมหาสารคาม จะมีพิธีบวงสรวงบูชาพระแม่โพสพ การหว่านปุ๋ยลงแปลงนา ที่ แปลงนา ภายในศูนย์ผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านหมี่ ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคาม ก่อนที่ภาคบ่ายจนถึงค่ำ จะเริ่มจัดขบวนแห่ โดยเน้นการสืบสานวิถีชีวิตชาวอีสาน พิธีเปิดงานและการแสดงประกอบ แสง สี เสียง ส่วนในแต่ละวันนอกจากการออกร้านมัจฉากาชาดแล้ว ยังมีการแสดงคอนเสิร์ตของศิลปิน การประกวดกุลธิดากาชาด การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งและการหมุนวงล้อออกรางวัลสลากกาชาดประเพณีบุญเบิกฟ้า จึงถือเป็นประเพณีที่มีความสำคัญของคนอีสาน ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ชาวจังหวัดมหาสารคาม จึงขอเชิญชวนผู้สนใจ นักท่องเที่ยว มาร่วมเฉลิมฉลอง ในโอกาสที่จังหวัดมหาสารคาม ครบรอบ 150 ปี พร้อมสืบสานประเพณีอันสำคัญ ใน “งานบุญเบิกฟ้าและกาชาด ฉลอง 150 ปี มหาสารคาม” ประจำปี 2558 ที่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 22 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ 2558



ประเพณีบุญเลิกฟ้า ที่ชาวจังหวัดมหาสารคามมีความเชื่อและถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณว่าเมื่อถึงวัน ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ฟ้าจะไข (เปิด) ประตูฝนให้ตกลงสู่โลกมนุษย์ จึงให้คนทั้งปวงสังเกตและฟังเสียงฟ้าร้องในช่วงนี้ ถ้ามีเสียงฟ้าร้องมาจากทางทิศใดก็จะทำนายลักษณะของฝนประจำปีตามตำราโบราณที่กล่าวไว้ในทิศนั้น ในวันสำคัญแบบนี้ชาวอีสานยังเชื่อว่าเป็นวันที่ชาวโลกมีความอิ่มและสมบูรณ์ถึงที่สุดจน "กบไม่มีปาก และนากไม่มีรูขี้ "หมายความว่าไม่ต้องกินไม่ต้องถ่าย จึงถืออาเป็นฤกษ์สำคัญให้ชาวนาได้นำมูลวัวมูลควายไปใส่ในนาของตนให้พร้อมเพรียงกัน 





พร้อมกับที่จังหวัดมหาสารคามมีความต้องการจัดงานบุญเบิกฟ้าให้เป็นงานพิธีที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด เพื่อประชาชนทั้งหลายจะได้ตระหนักถึงความสำคัญของชาวนา และการบำรุงดิน อันเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตข้าว พิธีกรรมต่างๆ นั้นมีการปฏิบัติตามจนกลายเป็นประเพณีสำคัญของท้องถิ่น การทำนายเสียงฟ้าร้องในวัน 3 ค่ำ เดือน 3 นั้น ตามตำราโบราณกำหนดว่า ฟ้าร้องทางทิศบูรพา มีครุฑเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศตูน้ำฝนจะดี ข้าวกล้าในนางอกงามดี คนทั้งปวงจะได้ทำบุญให้ทานอย่างทั่วถึง, ฟ้าร้องมาจากทิศแมว คือทิศอาคเนย์ ฟ้าเปิดประตูลม ฝนจะน้อยนาแล้ง คนจักอดอยาก และเกิดโรคท้องร่วงระบาด, ฟ้าร้องทางทิศราชสีห์หรือทิศทักษิณ ฟ้าเปิดประตูทอง ฝนดีน้ำมาก ข้าวในนาจะเสียอยู่สองส่วนได้มาสามส่วน นาลุ่มจะเสียหาย แต่นาดอนจะได้ผลดี ปูปลามีอุดมสมบูรณ์, ฟ้าร้องทางทิศเสือหรือหรดี ประตูตะกั่วหรือประตูชิน เชื่อว่าฝนจะดีน้ำงาม ผลหมากรากไม้อุดมสมบูรณ์ ปูปลามีมาก ข้าวกล้าได้ผลบริบูรณ์ดี, ฟ้าร้องด้านทิศนาคหรือทิศปัจฉิม อันเป็นประตูเหล็ก ฝนจะแล้ง น้ำจะน้อยข้าวกล้าในนาจะตายแห้งเสียหายหมด, ฟ้าร้องทางทิศหนูหรือทิศพายัพ เป็นประตูหินฝนจะตกปานกลาง ข้าวกล้าจะได้ผลกึ่งเสียกึ่ง ปูปลามีน้อย ผู้คนจักป่วยไข้, ฟ้าร้องด้านทิศข้างหรือทิศอุดร เป็นทิศประตูดิน ฝนจะดีตลอด ข้าวกล้างอกงามดี ฝูงคนจักมีความสุขกันทั่วหน้า, ฟ้าร้องทางทิศงัวหรืออีสาน เป็นทิศประตูดิน ฝนจะดีแต่ต้นถึงปลายปี ข้าวกล้าจะงอกงามสมบูรณ์

การทำนายทิศฟ้าร้อง ที่มาจากทิศอีสาน ฟ้าฝนอุดมสมบูรณ์ น้ำมาก แต่นาลุ่มไม่ดี









พร้อมทั้งยังมีการเสี่ยงทายคางไก่ ที่เชื่อว่า ปีนี้ฝนจะดี และข้าวจะได้ราคา

การหว่านปุ๋ยลงแปลงนา ที่ แปลงนา ภายในศูนย์ผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านหมี่ ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคาม








เหตุที่วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันที่จะให้อาหารแก่ดิน นั้น เพราะชาวอีสานแต่อดีตเห็นว่า เดือน 3 เป็นเดือนที่ชาวอีสานจะเสร็จสิ้นจากการเพาะปลูก และเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ก่อนจะเริ่มต้นในฤดูกาลผลิตครั้งใหม่จึงต้องมีการเตรียมดิน บำรุงดินให้สมบูรณ์ รำลึกถึงบุญคุณพระแม่ธรณี พระแม่โพสพ ที่ได้ให้ผลผลิตแก่ชาวนา การจัดงานบุญเบิกฟ้าของจังหวัดมหาสารคามจึงมีคุณค่าควรแก่การกินดีอยู่ดีของประชาชน ควรค่าแก่การสืบทอด


















ไม่มีความคิดเห็น:

PP Tour

ร้านอาหาร

[ร้านอาหาร][bsummary]

www.grandbookinggroup.com

โรงแรม

[โรงแรม][bsummary]

หอพักสตรีสุดารัตน์

อื่น

[อื่น][bleft]

วช

[วช][twocolumns]

หอพักสตรีสุดารัตน์

ภาคกลาง

[ภาคอีสาน][twocolumns]