ads 1081*250

ads 1081*250

บทความที่ได้รับความนิยม

ถ้ำเล สเตโกดอน (Stegodon) ต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล

ผมสั้นหน้าม้าสีส้ม นอนแช่น้ำโผลมาแค่ไหล่ เหมือนเป็นคนเฝ้าสถานที่นี้ คอยต้อนรับแขกที่มาเยือน 
by Viewchy HaHa 



เมือวันที่ 26 กันยายน 2556 


Sep 26, 2013


ถ้ำเล 4กิโลเมตร ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

ถ้ำเล คือ ถ้ำที่มีน้ำทะเลไหลผ่าน  หรือ ถ้ำเลเป็นถ้ำใหญ่ที่มีน้ำไหลผ่านตลอดถ้ำ





ครั้งแรกในชีวิตที่ได้ไปเยือน เมือง สตูล
อยุ่ทางใต้ ใต้แค่ไหนก้ไม่ทราบไปก็ไปคับ
อ.ธนวัฒน์ หนุ่มสาว ทัวร์ สมัยนั้น
ได้เจอกับ นายกโอเล่ คนตัวกลม นิสัยดีมาก






การเดินทาง 
เนิองด้วยไปกับคณะ  ผมหลับตลอด เพราะเป็นคนเมารถ
หลับอย่างเดียวคับ
ถึงที่แล้วก็ทำงานเลย
ลองหาดุในเวป ไม่ยากคับ





การเที่ยวถ้ำเล
ถ้ำที่มีน้ำทะเล ก็ต้องขึ้นกับเวลา ข้างขึ้น ข้างแรมด้วย
กรุณาโทร
คุณณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ นายกอบต.ทุ่งหว้า หรือ นายกโอเล่ 
ที่หมายเลช 09-1034-5989

*****************************************************************************
เทคนิคการถ่ายภาพ ในถ้ำ แบบเป็นหมู่คณะ 

การมีอุปกรณ์สองชุด นั้นได้เปรียบครับ ชุดนึงเอาไว้ลุย  ผมจัดชุด D600 + 17-

35/2.8-4tamron + SB800  ถามว่ากล้องกันน้ำไหม กันได้ระดับหนึ่งครับ ไม่ใช่เอา

ไปจุ่มนี้ไม่รอด


โจทย์ก็คือ เรามากับหมู่คณะ ขาตั้งลืมไปเลยครับ จอดตั้งขา สายลั่น ถ่าย ไม่ทันกินแน่

และเป็นตัวถ่วงอีก แน่นอน  การคิดคือ ให้ไว ให้เร็ว และได้รุป

-ปรับกล้อง  RAW,  WB auto , เอาให้ได้คอมโพส หรือชัดสมใจก่อน แล้วค่อยไป

ต่อยอดด้วย LR อีกทีครับ

-การโฟกัส ปรับเป็นแมนนวล ครับ แล้ว หมุนไปที่ อินฟินิตี้ ถอยมานิดนึง แล้วเอาสะ

กอตเทปแปะไว้กันเคลื่อน

-โหมดการถ่ายภาพ ผมใช้ M Manual เริ่มที่   s 1/15   f4 + Sync rear flash..
   sync rear flash แล้วใช้  1/15 ถ้ามันยังไหว อยุ่ ก็ปรับไปที่ 1/20 แต่ผมใช้ที่ 17มม

เอาอยุ่ครับ  ถ้าอยากได้ชัดลึก ก็เปรับเป็น f8 ถ่ายไปปรับไปคับ   ISO ก็ ใช้ได้ตั้งแต่

400  800 1600 เหมือนเดิม ถ่ายไปปรับไปคับ

-แฟลช  SB800 ถึงเก่าแต่าก็เชือใจได้ ผมมั่นใจในระบบแฟลชของ นิค คับ
   ผมใช้การแยกแฟลช จากตัวกล้อง  ใช้ channel 2 อันนี้ ใช้ ช่องไหนก็ได้นะคับ

ของนิค มี 1 2 3   set group A  TTL Mode ให้กล้องและแฟลช มันคิดเอง สวนเรา

มีหน้าที่ ยกขึ้นเล่ง  แล้วก็กด ตับๆๆๆๆ  สว่าง หรือ มืดไปก็ปรับให้เร็ว

- ให้มีความสุขกับการถ่ายครับ อย่าไปเครียด






ถ้ำเลสเตโกดอน(Stegodon) ต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล
ซึ่งเป็นถ้ำน้ำเค็มที่ยาวที่สุดในประเทศไทย โดยส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อสร้างจิตนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ใหม่ทางด้านธรณีวิทยา และชีววิทยาของจังหวัดสตูล รวมทั้งเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งอุทยานธรณี หรือ Geopark ของจังหวัดสตูล




ปากทางเข้าเรียกว่า บ้านคีรีวง 


Stegodon ฟอสซิลช้างโบราณ‘สเตโกดอน’ แหล่งท่องเที่ยวใหม่ทางเลือกที่สตูล ตอกย้ำความหลากหลายทางทรัพยากร 




คนตัวกลมๆๆ นายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ นายกอบต.ทุ่งหว้า กล่าวว่า “ถ้ำกล้วย” เป็นพื้นที่ แห่งใหม่ที่ทาง องค์การบริหารส่วนตำบล ร่วมกับ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน และทรัพยากรธรณีวิทยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ นักธรณีวิทยา สำรวจค้นหาซากดึกดำบรรพ์บริเวณภายในถ้ำ


ถ้ำเลสเตโกดอน(Stegodon)
 เป็นถ้ำน้ำเค็มที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ประมาณ 4 กิโล ใช้เวลาในการล่องเรือ 1 ชั่วโมง ขึ้นอยุ่กับ สภาพของน้ำขึ้นน้ำลง น้ำน้อย ก็ต้องช้า ที่ยกเรือข้าม 



 “ช้างสเตโกคอน” นั้น จัดเป็นช้างโบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 1.8 ล้านปี และการค้นพบฟอสซิลของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในพื้นที่ จ.สตูล ครั้งนี้ถือได้ว่า เป็นการค้นพบซากดึกดำบรรพ์เป็นจังหวัดแรกในพื้นที่ภาคใต้ สถาบันเห็นว่า สมควรที่จะมีการผลักดันให้เป็น พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยาต่อไปได้ ซึ่งทั้งหมดยังอยู่ในขั้นตอนที่กำลังดำเนินการผลักดันอยู่








ต้องมีคนนำทางแบบนี้ 




สองผู้ยิ่งใหญ่ ที่ผมเคารพ อ.ธนวัฒน์(อ.ยุทธ)  และ นายกโอเล่


ทางออกคลองวังกล้วย

 ฟอลซิลฟันช้าง เอลลิฟาส 




เปิดนำร่องช่วงงานสตูลเฟส  “สตูลฟอสซิล เฟสติวัล ครั้งที่ 1” ขึ้นที่สนามกีฬาหน้าที่ว่าการ อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล ระหว่างวันที่ 6-15 ธ.ค.56 ที่ฝานมา.

หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน...
ผู้ว่าราชการ จว สตูล ให้งบมาปรับภูมิทัศ พพธ. กับ ถ้ำเล 30 ล้าน
ททท ตรัง-สตูล ช่วง ปชส...

ค่าใช้จ่าย
ราคาช่วงแนะนำทีาผ่านมา 300 บาท ต่อคน แต่ค่าดว่าจะเป็น 600บ ต่อท่าน

**ช่วงนี้วันละไม่เกิน 40 คน สำหรับนักท่อ่งเที่ยว แบบสบายๆ

****************************************


เปิดให้บริการ ประมาณ เดือน พย. 2556  






แหล่งซากดึกดำบรรพ์ถ้ำเลสเตโกดอน
ประวัติการค้นพบ
เมื่อประมาณเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 นายยุทธนันท์  แก้วพิทักษ์ ชาวบ้านหมู่ 6 ตำบล ลิพัง         อำเภอ ปะเหลียน จังหวัด ตรัง พร้อมด้วยคณะจำนวน 4 คน ได้เดินทางเข้าไปในถ้ำวังกล้วย ซึ่งอยู่ในเขต  บ้านคีรีวง หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เพื่อหากุ้งก้ามกรามในขณะที่ดำน้ำหากุ้ง ได้พบซากดึกดำบรรพ์มีลักษณะเป็นหินสีน้ำตาลไหม้ น้ำหนักประมาณ 5.3  กิโลกรัม  ยาวประมาณ  44 เซนติเมตร  สูงประมาณ 16  เซนติเมตร  ห่างจากปากทางเข้าถ้ำทางด้านหมู่บ้านคีรีวง  ประมาณ 1,600 เมตร นายยุทธนันท์ ได้นำซากที่พบออกมาจากถ้ำ และมอบให้กับทางอำเภอทุ่งหว้า   โดยมี นายประเสริฐ สองเมือง ปลัดอำเภอประจำตำบลทุ่งหว้า พ.ต.อ. ถวัลย์ นคราวงศ์  ผู้กำกับการ สถานีภูธรทุ่งหว้า  นายพิศาล แซ่เอี้ยว ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า    นางสาวรุ่งทิพย์ ฟองโหย นักพัฒนาชุมชน นายจารึก วิไลรัตน์ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ และนายอรรถพล จุลฉีด  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7  เป็นตัวแทนรับมอบ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2551 จากนั้นได้นำซากดึกดำบรรพ์      ชิ้นดังกล่าวไปฝากเก็บไว้ที่สถานีตำรวจภูธรทุ่งหว้า  ซากดังกล่าวในขณะนั้นยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นชิ้นส่วนของสัตว์ชนิดใด  นักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณีซึ่งมาสำรวจพิสูจน์เบื้องต้นสันนิษฐานว่าอาจเป็นซาก   ของจระเข้ แต่ต้องรอการพิสูจน์จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอีกครั้ง   การค้นพบซากดังกล่าวเป็นข่าวตามหนังสือพิมพ์หลายฉบับ
ต่อมา ผศ. ดร. ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันการวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ซึ่งเป็นชาวทุ่งหว้าโดยกำเนิด   ศึกษาวิจัยอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ทั้งพืชและสัตว์ที่พบในจังหวัดนครราชสีมาในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ คือพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ และไดโนเสาร์  ได้ติดต่อนายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า  เพื่อศึกษาในรายละเอียดและได้ส่งนักวิชาการคือ นายจรูญ ด้วงกระยอม อาจารย์ประจำ  และนางสาวสุภัทร บุญลำพู นักวิชาการศึกษามาทำการศึกษา และทำแบบหล่อรูปหล่อ
จากการศึกษาพบว่าเป็นซากกระดูกขากรรไกรพร้อมฟันกรามซี่ที่ 1และ 2 ด้านล่างขวา ของช้างดึกดำบรรพ์ สกุลสเตโกดอน  อายุอยู่ในสมัยไพลสโตซีน หรือประมาณ 1.8-0.01  ล้านปีก่อน
หลังจากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้าได้ส่งทีมสำรวจเข้าสำรวจแหล่ง นายจรูญ ด้วงกระยอม  สันนิฐานว่าซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าวอาจจะถูกพัดพาเข้ามาอยู่ในถ้ำโดยกระแสน้ำซึ่งมาจากปากถ้ำด้านที่ติดทะเล   จากการสำรวจถ้ำเลสเตโกดอน ( ถ้ำวังกล้วย) หลายครั้ง องค์บริหารส่วนตำบลทุ่งหว้าไดค้นพบซากดึกดำบรรพ์แล้วมากกว่า 300 ชิ้น ซึ่งมีทั้งซากช้างสเตโกดอน ซากช้างเอลิฟาสซึ่งเป็นบรรพบุรุษของช้างเอเชีย  ซากแรด กวาง วงค์วัวควาย เต่า เป็นต้น
การค้นพบดังกล่าว ถือว่ามีความสำคัญไม่เฉพาะในทางวิชาการ  แต่ถือเป็นความภาคภูมิใจ         ของชาวทุ่งหว้าทุกคน เนื่องจากเป็นการพบซากดึกดำบรรพ์สัตว์งวงแห่งแรกและแห่งเดียวของภาคใต้ นั่นเอง
ช้างดึกดำบรรพ์
ช้างดึกดำบรรพ์ หมายถึง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีงวง ซึ่งในระบบอนุกรมวิธารสัตว์ จำแนก           อยู่ในลำดับใน โปรบอสซิเดีย และพบในลักษณะของซากดึกดำบรรพ์ ศัพท์โปรบอสซิเดีย  มาจากภาษากรีกproboscis หรือ proboscis ในภาษาอังกฤษ  มีความหมายเหมือนคำว่า trunk ที่แปลว่า งวง ดังนั้น                โปรบอสซิเดีย จึงหมายถึง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีงวง หรืออาจเรียกว่า สัตว์งวง
จากความหมายข้างต้น สัตว์งวง จึงหมายถึงช้างทั้งหลายในปัจจุบันเละมีซากเหลือ หรือร่องรอย    ให้เราศึกษาได้ในรูปแบบของช้างดึกดำบรรพ์ ซึ่งที่นี่จะเรียกช้างกลุ่มนี้ว่า ช้างดึกดำบรรพ์  เพราะเป็นคำที่รู้จักกันทั่วไป เข้าใจง่ายและมีความหมายแตกต่างจากช้างปัจจุบันที่หมายถึง  ช้างเอเชีย และ ช้างแอฟริกา

ตัวอย่างสัตว์งวง บางสกุล ที่เด่นๆ ของโลก
1. มีริธีเรียม
2. ไดโนธีเรียม
3. ฟิโอเมีย
4. มาสโตดอน
5.กอมโพธีเรียม
6. สเตโกดอน
7.สเตโกโลโฟดอน
8. แมมมอธ
9ช้างเอเชีย    
10.ช้างแอฟริกา






วิวัฒนาการของฟันช้าง
จากฟันแบบปุ่มมาเป็นแบบแผ่นในช้าง
ปัจจุบัน และลักษณะของหัวช้างจากหัวเล็กคล้ายหมูในบรรพบุรุษได้พัฒนามาเป็นพวกที่มีขากรรไกรด้านล่าง ที่ยาวมากขึ้น คือพวกที่มีงา ด้านล่างด้วยหรือกลุ่มช้าง 4 งานั่นเอง ก่อนที่ขากรรไกรด้านล่างจะหดสั้น และงาล่างก็หายไปเหลือเฉพาะงาคู่ที่งอกจากขากรรไกรบน ในกลุ่มช้างที่มีอายุใหม่ใกล้ช้างปัจจุบันส่วนงวงนั้นนั้นจะยาวมากขึ้น ในกลุ่มที่อายุใหม่ขึ้นดังภาพ
1. 5 ล้านปีก่อน - ปัจจุบัน             ช้างเอลิฟาส(ช้างเอเซีย)และแมมมอธ
2. 11-0.01 ล้านปีก่อน                ช้างสเตโกดอน
3. 16-0.08  ล้านปีก่อน               ช้างมาสโตดอน
4.  24-5  ล้านปีก่อน           ช้างสี่งากอมโฟธีเรียม
5. 37-24 ล้านปีก่อน           ช้างสี่งาพาลีโอมาสโตดอน
6. 50-24  ล้านปีก่อน          บรรพบุรุษช้างมีริธีเรียม


ลักษณะเฉพาะของสัตว์วงหรือโปรบอสซิเดีย
คือ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีงวงเป็นท่อน ซึ่งหมายถึง ท่อจมูกที่ยาว เต็มไปด้วยกรามเนื้อไม่มีกระดูก เป็นส่วนที่ริมผีปากบน เพดานปากและรูจมูกเข้าด้วยกันและร่างกายมีขนาดใหญ่ฟันตัด คู่นอกพัฒนาไปเป็นงาและงาของโปรบอสซิเดียบางสกุลได้วิวัฒนาการ จนกระทั่งสารเคลือบหายไป  โดยทั่วไปไม่มีฟันเคี้ยว ส่วนฟันกรามจะพัฒนาไปเป็นแถวของปุ่มฟันทื่อ รูปกรวย หรือลักษณะของฟันหลายๆสัน ฟันน้ำนมถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ ซึ่งถูกดันให้สูงขึ้นมาจากส่วนล่างของขากรรไกร  แต่ได้วิวัฒนาการมาเป็นการเคลื่อนที่แทนที่ในแนวราบ ในสมัยต่อมาจะสั้นกว่า สูงกว่า และใหญ่กว่า คอสั้นมาก   เมื่อขนาดของร่างการของช้างชนิดใหม่ๆ ใหญ่โตและสูงขึ้น  งวงที่ยาวจะทำหน้าที่เหมือนมือ  สัดส่วนของกะโหลกจะใหญ่กว่าสมองมาก ทั้งนี้เพื่อเป็นที่ยึด และรับน้ำหนักของงวง และรับน้ำหนักจำนวนมากของฟันและงา การจัดจำแนก


เอกสารในชื่อ โปรบอสซิเดีย  เล่มแรกพิมพ์ใน ค.ศ. 1936 พิมพ์อีกเล่มใน ค.ศ. 1996  ได้พิมพ์หนังสือชื่อเดียวกันโดยเพิ่มเติมข้อมูลให้ทันสมัยขึ้นซึ่งใน ค.ศ. 1942 นี้ได้จำแนกสัตว์ในลำดับโปรบอสซิเดีย ออกเป็น 8 วง 40  สกุล และ 352 ชนิด/ ชนิดย่อยต่อมาใน  ค.ศ. 1996ได้ปรับปรุงการจำแนกใหม่  จากข้อมูลที่มีเพิ่มเติมโดยให้เป็น 8 งวงเช่นเดียว ได้จำแนกแต่จำนวนสกุลและชนิดนั้นลดลงเป็น 38 สกุล  162  ชนิด  ปัจจุบันมีการจำแนกวงศ์สกุลและชนิดใหม่เพิ่มอีก 1 วงศ์ 5 สกุล  12  ชนิดดังกล่าวสัตว์ในลำดับโปรบอสซิเดียทั้งที่มีชีวิตอยู่และสูญพันธ์ไปแล้ว  จึงมีจำนวนทั้งสิ้น  174  ชนิด  42  สกุล  ใน 10  วง โดยมีริธีเรียม เป็นต้นระกูล  ตัวแรกของสัตว์ทั้งปวง   และปัจจุบันเหลือเพียง  2  สกุล   คือ ช้างเอเชีย ในสกุลเอลิฟาส และช้างแอฟริกา  (Loxodonta )เท่านั้น

การจำแนก
อันดับ โปรบอสซิเดีย
วงศ์ สเตโกดอนติดี
วงศ์ย่อย สเตโกดอนตินี
สกุล สเตโกดอน

ลักษณะทั่วไป
ช้างสเตโกดอนวิวัฒนาการมาจากช้างสเตโกโลโฟดอนเป็นช้างที่มีมีลักษณะร่วมกันระหว่าง ช้างมาสโตดอน ช้างแอฟริกาปัจจุบัน มีกะโหลกขนาดใหญ่  ขากรรไกรสั้นไม่มีงาที่งอกออกจากกรรไกรด้านล่างเหมือนช้างดึกดำบรรพ์บางสกุล  เช่น ช้างกอมโฟธีเรียม  ช้างโปรตานันคัส ช้างเตตระโลโฟดอน  ฯลฯ  งาของช้างสเตโกดอน บางชนิด เช่น  สเตโกดอน แมกนิแดน  ที่พบในประเทศอินเดีย  มีความยาว ถึง  3.3 เมตร ลักษณะ ฟันกรามของช้างประกอบด้วย ฟันเรียงตัวเป็นแนวตามขวางประมาณ 6-13 สัน ส่วนยอดของ     สันฟัน จะแบ่งเป็นปุ่มขนาดเล็ก 5-6  ปุ่ม แต่สำหรับ สเตโกดอนรุ่นอายุใหม่ลักษณะฟันถี่ๆมากกว่า 10  ปุ่ม มีลักษณะเป็นรอยหยักพัฒนามาจากแบบแบนเหมือนช้างในเอเชียปัจจุบันฟันทั่วไปมียอดฟันต่ำ และร่องระหว่างสันฟันเป็นรูปตัว y  รูปร่างคล้ายหลังคา ภาษกรีก หมายถึง ปกคลุม หรือครอบ
อายุ


สมัยไพลสโตซีน หรือประมาณ 1.8 -0.01 ล้านปีก่อน
ซากดึกดำบรรพ์ สเตโกดอนที่พบในประเทศไทยบางชิ้นคาดว่าใหญ่มากเช่น  สเตโกดอน   อินสิกนิส  ของ  จังหวัดนครสวรรค์ และที่ตำบลท่าช้าง  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา  ลำตัวอาจสูงถึง 4 เมตร ในขณะที่ช้างเอเชียในปัจจุบัน สูงประมาณ 2.5-3 เมตร สำหรับภาคใต้     พบที่ อำเภอ ทุ่งหว้า จังหวัดสตูล  ถือได้ว่าเป็นการพบซากดึกดำบรรพ์ครั้งแรกของภาคใต้
ถิ่นที่อยู่

ซากดึกดำบรรพ์ ช้างสเตโกดอนที่มีอายุเก่า พบในทางเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงว่าภูมิภาคนี้  อาจเป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของช้างสเตโกดอน
การค้นพบช้างสเตโกดอนในทวีปเอเชียและแอฟริกา  ลักษณะฟันช้างสเตโกโลโฟดอนจากแหล่งบ่อทราย  ตำบลท่าช้าง  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดนครราชสีมา แสดงว่าแนวร่องกลางชัดเจน ขณะที่สเตโกดอน แนวดังกล่าวจะเริ่มหายไป  ส่วนตัวเลขแสดงจำนวนเส้นฟัน ตัวอย่างขากรรไกรล่างขวา พร้อมฟันกรามซี่ที 3 ของช้างสเตโกดอน ที่พบใน ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดนครราชสีมา ตัวเลขแสดงจำนวน สันฟันซี่สันที่ 1-5 สึก ค่อนข้างมาก ทำให้เห็นส่วนยอดสันฟันมีลักษณะหยัก ๆ ไม่เป็นปุ่มฟัน


ติดต่อขอข้อมูลเพิมเติมได้ที่ 

-นายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ นายกอบต.ทุ่งหว้า  เบอร์โทร 
..... 091 0345989 ตลอดเวลา 
-สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน)  
  02 1921924 -6 เวลา 09.00 - 17.00 น













ไม่มีความคิดเห็น:

PP Tour

ร้านอาหาร

[ร้านอาหาร][bsummary]

www.grandbookinggroup.com

โรงแรม

[โรงแรม][bsummary]

หอพักสตรีสุดารัตน์

อื่น

[อื่น][bleft]

วช

[วช][twocolumns]

หอพักสตรีสุดารัตน์

ภาคกลาง

[ภาคอีสาน][twocolumns]